แม้ว่าเรารู้สึกได้จากการเกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดเท่านั้น แต่แผ่นดินไหวเกิดขึ้นทุกๆ วัน และส่งคลื่นไหวสะเทือนไปทั่วโลก
พลังงานจากแผ่นดินไหวสามารถวัดได้ด้วยมาตราริกเตอร์
คนทั่วไปจะไม่รู้สึกเมื่อเกิดแผ่นดินไหวที่ความรุนแรงน้อยกว่า 2 ริกเตอร์ แต่แผ่นดินไหวขนาด 6 ริกเตอร์ ส่งผลให้เกิดความเสียหายรุนแรง
ความแตกต่างระหว่างค่า 2 และ 6 ในเส้นโค้งนี้ดูเหมือน จะไม่แตกต่างกันมากนัก แต่มาตราริกเตอร์นั้นเป็นจำนวนลอการิทึม
เลขแต่ละตัวบนมาตราริกเตอร์จะมีค่าเป็น 10 เท่าของตัวต่ำกว่า
ลอการิทึม
มาตราริกเตอร์ เป็นเลขยกกำลัง 10 ซึ่งสามารถแสดงโดยใช้สัญกรณ์มาตรฐาน
1,000 คือ 10x10x10 ซึ่งสามารถเขียนได้เป็น 10 ยกกำลัง 3
ซึ่งเรียกว่า เลขยกกำลัง
เลขยกกำลัง
เลขฐานคือ x เลขยกกำลังคือ n ซึ่งบอกถึงจำนวนครั้งที่เลขฐานคูณกัน
ลอการิทึม คือส่วนกลับของเลขยกกำลัง
จากสมการลอการิทึมนี้ ถามว่า หากเลขฐานคือ 10 แล้วต้องยกกำลังเท่าไหร่จึงจะมีค่าเท่ากับ 1,000?
คำตอบ คือ 3
มาตราริกเตอร์เป็นมาตราส่วนลอการิทึมฐาน 10 ดังนั้นเลขแต่ละตัวของมาตราริกเตอร์ จะหมายถึงเลขยกกำลังของฐาน 10
นั่นคือ แผ่นดินไหวขนาด 8 ริกเตอร์ มีความรุนแรงมากกว่า 7 ริกเตอร์ถึง 10 เท่า และรุนแรงกว่าแผ่นดินไหว 2 ริกเตอร์ถึง 1,000,000 เท่า
แต่โชคดีที่ขนาดของแผ่นดินไหวก็ลดลง เป็นแบบเลขยกกำลังเช่นเดียวกัน
มีแผ่นดินไหวขนาด 7 ริกเตอร์ เกิดขึ้นโดยเฉลี่ย 18 ครั้งต่อปี
แต่มีแผ่นดินไหวขนาด 2 ริกเตอร์ เกิดขึ้นนับพันครั้งในแต่ละวัน