บ่อยครั้งที่สิ่งที่ผู้คนกลัวที่สุดมักไม่ค่อยมีอันตรายต่อพวกเขา เท่ากับสิ่งที่พวกเขาไม่กลัวเลย
ความน่าจะเป็นทำให้เราทราบว่า มีโอกาสเกิดเหตุการณ์บางอย่างขึ้นมากน้อยเพียงใด และ ความกลัวของเรานั้นไม่มีเหตุผลเพียงใด
เราสามารถคำนวณมันได้สองวิธีคือ โดยทฤษฎีและด้วยการทดลอง
ความน่าจะเป็นเชิงทฤษฎี
ความน่าจะเป็นเชิงทฤษฎี ใช้คำนวณความน่าจะเกิดขึ้นได้ของเหตุการณ์ง่ายๆ ก่อนที่มันจะเกิดขึ้นจริง
ความน่าจะเป็นเชิงทฤษฎีของการเกิดเหตุการณ์หนึ่ง คือ จำนวนผลลัพธ์ที่ต้องการ หารด้วย จำนวนผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมด
ตัวอย่างเช่น ความน่าจะเป็นเชิงทฤษฎีที่เราจะทอดลูกเต๋าได้ หก คือ 1 ใน 6
จากผลลัพธ์ทั้งหกที่เป็นไปได้ทั้งหมด มีอยู่เพียงหนึ่งที่เราต้องการ
อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ที่ซับซ้อนขึ้น ความน่าจะเป็นเชิงทฤษฎีก็คำนวณได้ยาก
ในกรณีนี้ ความน่าจะเป็นเชิงการทดลองมีประโยชน์มากกว่า
ความน่าจะเป็นเชิงทดลอง
มีหลากหลายปัจจัย ที่มีผลกระทบว่าความกลัวของเราจะเป็นจริงหรือไม่ เราจึงต้องอาศัยความถี่ของการเกิดเหตุการณ์ที่เรารู้อยู่แล้ว
ความน่าจะเป็นเชิงการทดลอง คือจำนวนครั้งที่เหตุการณ์เกิดขึ้นจริงหารด้วยจำนวนครั้งที่มันอาจจะเกิดขึ้นได้
ในแต่ละปี มีการขายตั๋วรถไฟเหาะตีลังกา 1,700 ล้านใบในสหรัฐอเมริกา
โดยเฉลี่ยแล้ว มี 4 คนที่ประสบอุบัติเหตุถึงชีวิต
ซึ่งเท่ากับโอกาส 1 ใน 425 ล้านที่คุณอาจเสียชีวิตเพราะการเล่นรถไฟเหาะตีลังกา
การตกจากบันไดจนเสียชีวิตนั้นมีความเป็นไปได้มากกว่ามาก
ดังนั้น ความน่าจะเป็นเชิงทฤษฎี หรือเชิงการทดลอง บ่งบอกถึงโอกาสที่ผลลัพธ์บางอย่างจะเกิดขึ้นทั้งในระบบที่เรียบง่ายหรือซับซ้อน
ความน่าจะเป็น เชิงทฤษฎี = ผลลัพธ์ที่ต้องการ
ความน่าจะเป็น เชิงทดลอง = การเกิดขึ้นจริง
การใช้เหตุผลตัดสินความกลัว
ความกลัวอย่างไม่มีเหตุผลอื่นๆ มีความน่าจะเป็นน้อยมาก
คุณมีโอกาสที่จะเสียชีวิตโดยจุกไม้ก๊อกที่กระเด็นจากขวดแชมเปญมากกว่าโดนแมงมุมพิษกัด
และลูกมะพร้าวที่ตกจากต้น ได้คร่าชีวิตคนไปในแต่ละปี มากกว่าเครื่องบินตกเสียอีก
ดังนั้น ความน่าจะเป็นแสดงให้เห็นว่า สิ่งที่เรากลัวมากที่สุด บ่อยครั้ง กลับเป็นสิ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยที่สุด