ในปี ค.ศ.1885 กษัตริย์ออสการ์แห่งสวีเดนและนอร์เวย์ ได้รับสั่งให้นักคณิตศาสตร์ พิสูจน์ว่า ระบบสุริยะมีสภาพเสถียร....
กษัตริย์ออสการ์ที่สอง
ค.ศ.1829-1909
หรืออาจแตกสลายแยกออกจากกันในสักวันหนึ่ง
นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ ปวงกาเร ชนะรางวัล แต่บทสรุปของเขาผิดเพราะเขาไม่ได้พิจารณาถึงทฤษฎีเคออส
จูลส์ อองรี ปวงกาเร
ค.ศ.1954-1912
ทฤษฎีเคออส
ทฤษฎีเคออสระบุว่า ระบบที่ซับซ้อนจะได้รับอิทธิพลอย่างมากจากสภาพตอนเริ่มต้น
ในระบบที่เรียบง่าย การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในระยะเริ่มแรก ไม่มีผลอันใหญ่หลวงต่อผลลัพธ์สุดท้าย
แต่ในระบบที่ซับซ้อน การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในระยะเริ่มแรกอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ได้
ซึ่งอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ขึ้นและใหญ่ขึ้น ในพฤติกรรมระยะยาวของระบบ
ทฤษฎีผีเสื้อขยับปีก
เมื่อผีเสื้อกระพือปีก ในทางทฤษฎี การเปลี่ยนแปลงอันเล็กน้อยในชั้นบรรยากาศอาจทำให้เกิดพายุทอร์นาโดในอีกฝั่งหนึ่งของโลกได้
ที่มักจะรู้จักกันในชื่อ ทฤษฎีผีเสื้อขยับปีก
ระบบที่ยุ่งเหยิง
ย้อนกลับไปในปี ค.ศ.1885 เมื่อปวงกาเร ทำนายธรรมชาติของระบบสุริยะ เขาได้คิดระบบสมการแบบง่ายๆ ของวงโคจรของดาวเคราะห์
แต่เนื่องด้วยขนาดและความซับซ้อนของระบบสุริยะ การดัดแปลงเพียงเล็กน้อยทำให้การคาดการณ์ของเขาไม่ถูกต้องเลย
ปวงกาเรกราบบังคมทูลกษัตริย์ว่า วงโคจรในระบบสุริยะจะคงอยู่อย่างเสถียร แต่อันที่จริงแล้ว ระบบนั้นซับซ้อนมากเกินกว่าจะสามารถคาดการณ์อย่างแน่นอนได้
การประเมินธรรมชาติของระบบที่ยุ่งเหยิงให้ได้ถูกต้องแม่นยำเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เนื่องจากเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลากหลาย
นี่คือเหตุผลว่าทำไม การพยากรณ์อากาศเป็นเรื่องยาก
และจำนวนประชากรของสัตว์ ก็ทำนายได้ยาก
และเราก็ไม่สามารถคาดการณ์การเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ได้ 100% แน่นอน