การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์มีความเสี่ยง
การซื้อขายตั้งอยู่บนตราสารสิทธิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อขายหุ้นที่มีการระบุราคาและเวลาตายตัวในสัญญา
สำหรับการซื้อหุ้นนั้น นักลงทุนจะเก็งราคาของตราสารเพื่อจะซื้อ
ถ้าราคาหลักทรัพทย์เพิ่มขึ้น ตราสารนั้นก็จะมีค่าและนักลงทุนก็จะซื้อหลักทรัพย์นั้น
หากราคาร่วงลง นักลงทุนก็จะขาดทุน แต่เขาขาดเพียงแค่มูลค่าของตราสารอนุพันธ์ไม่ใช่มูลค่าตราสารของกิจการทั้งหมด ซึ่งลดการขาดทุนได้มาก
การตีราคาตราสารสิทธิ
ไม่มีใครรู้จนกระทั่งปี ค.ศ.1970 ว่าจะหามูลค่าตลาดที่แท้จริงของตราสารสิทธิได้อย่างไร
สมการแรกๆ มีความซับซ้อนเกินไปและมีพื้นฐานมาจากปัจจัยแปรผันที่ไม่สามารถคำนวณได้ เช่น ความมีเหตุผลของนักลงทุนและความระมัดระวังของผู้ค้า
ค.ศ.1973
ศาสตราจารย์ไมรอน สโคลส์
มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา
ศาสตราจารย์ฟิชเชอร์ แบล็ก
เอ็มไอที สหรัฐอเมริกา
ต่อมาในปี ค.ศ.1973 นักคณิตศาสตร์สองคน สโคลส์ และ แบล็ก ได้ลบปัจจัยที่ไม่รู้ค่านั้นออก เหลือเพียงตัวแปรที่คำนวณค่าได้
เช่น ระยะเวลาของสัญญาตราสารสิทธิ และ อัตราดอกเบี้ย เช่นเดียวกับราคาหลักทรัพย์ทั่วไป
แต่มีตัวแปรที่คำนวณไม่ได้คงอยู่หนึ่งตัว นั่นคือ ระดับความเสี่ยง
การประกันความเสี่ยง
เพื่อที่จะกำจัดตัวแปรนี้ออกไป แบล็ค และ สโคลส์ ‘ป้องกันความเสี่ยง’ โดยการเดิมพันทั้งสองด้านเพื่อหาสมดุล และปิดความเสี่ยงไปโดยปริยาย
แบล็คและสโคลส์ ร่วมมือกันกับนักคณิตศาสตร์อีกคนชื่อ เมอร์ตัน เพื่อประยุกต์ใช้สมการของพวกเขากับตลาดหลักทรัพย์
ศาสตราจารย์โรเบิร์ท ซี เมอร์ตัน วิทยาลัยธุรกิจฮาวาร์ด สหรัฐอเมริกา – “เมื่อทำตามขั้นตอนและกลยุทธการตั้งราคาแบบพลวัตของพวกเขาแล้ว พวกเขาสามารถจะกำจัดความเสี่ยงได้ทั้งหมด อย่างน้อยก็ในบริบทแบบจำลองของผม”
แต่ก่อนที่นักวิชาการจะได้ตีพิมพ์ สมการที่เรียบง่ายอย่างเหลือเชื่อของพวกเขา คำพูดปากต่อปากทำให้ผู้ค้านำไปใช้ในชีวิตจริง
สมการนั้นได้ทำเงินให้กับผู้ค้าขายเป็นหลักพันล้าน ในเวลายี่สิบห้าปี
สโคลส์และเมอร์ตัน ได้รับรางวัลโนเบล และพวกเขาก็ก่อตั้งกองทุนเพื่อการลงทุนมูลค่าหลายพันล้านเหรียญดอลลาร์
การแกว่งตัวของตลาด
ค.ศ.1998
แต่เหตุการณ์ระดับโลกที่คาดไม่ถึงและไม่น่าเกี่ยวข้องกันก็เกิดขึ้น
เช่น วิกฤติการณ์การเงินในเอเชีย
และการผิดสัญญาชำระหนี้ระหว่างประเทศของรัสเซีย
ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ล้มพินาศ
ศาสตราจารย์เมอร์ตัน มิลเลอร์ มหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกา –“แบบจำลองต่างๆ ที่ใช้กัน ไม่เพียงแต่เฉพาะของแบล็คและสโควส์ เท่านั้น แต่ทุกๆ รูปแบบมีพื้นฐานตั้งอยู่บนพฤติกรรมของตลาดที่เป็นปกติ เมื่อไรก็ตามที่ตลาดมีพฤติกรรมบ้าคลั่ง จะไม่มีแบบจำลองใดที่รองรับได้”
เมื่อตลาดถูกครอบงำด้วยความกลัว ตราสารสิทธิจะมีราคาที่สูงขึ้น
ดังนั้น ถึงแม้ว่าสมการสำหรับ ‘ป้องกันความเสี่ยง’ จะถูกต้อง สโคลส์และเมอร์ตันก็จำเป็นต้องลงทุนมากยิ่งขึ้น
กลยุทธที่เสี่ยงแบบนี้ทำให้พวกเขาสูญเสียหลายร้อยล้านเหรียญดอลลาร์ในวันเดียว และไม่ได้มีแต่พวกเขาเท่านั้นที่สูญเสีย
‘นั่นเป็นกฏเก่าแก่เกี่ยวกับตลาด ตลาดจะทดสอบคุณ และทำในสิ่งที่คุณไม่คาดคิดว่ามันจะทำ’