นี่คือ การ์ธ
เขามั่นใจว่า คณิตศาสตร์คือคำตอบสำหรับปัญหาทุกอย่างในชีวิต
สิ่งเดียวที่เราต้องใช้คือ สมการพีชคณิตชึ่งใช้ปัจจัยตัวประกอบจากชีวิตจริงที่จะมีอิทธิพลกับผลลัพธ์
และเขาก็กำลังลงมือกับภารกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเขา เรื่องความรัก!
“ผมคือประธานชมรมเกมส์ออนไลน์ ที่เป็นสถานที่ที่ อืม พบปะกันของผู้ชายทั้งหลายและเล่นเกมส์”
“อืม…แนวเกมส์โปรดของผมคือพวกวางแผน แบบที่…ผมชอบแนวครอบครองโลก!”
“มีผู้หญิงมาร่วมชมรมพวกคุณมากมั้ย?”
“ไม่”
การ์ธสามารถพิสูจน์ให้หนุ่มๆ เหล่านี้ดูได้ไหมว่าสิ่งที่พวกเค้าต้องการในการค้นหาคนพิเศษ คือ.... พีชคณิต?
การ์ธ ซันเดม นักคณิตศาสตร์ – “โอกาสที่ผมจะได้แฟนขึ้นอยู่กับปัจจัย เช่น คุณคิดว่าคุณมีเสน่ห์แค่ไหน และพวกสาวๆ มีเสน่ห์แค่ไหน...นั่นล่ะ เป็นสัดส่วนเชิงเปรียบเทียบที่จะบ่งบอกถึงโอกาสที่จะจีบติด”
มันอาจดูน่าสับสน แต่เพียงแค่ใส่ค่าตัวประกอบต่างๆ ลงไปในสมการจีบสาว เช่น ทักษะการสนทนา หรือ ความมีเสน่ห์ แค่นี้คุณก็ใช้พีชคณิตเพื่อหาความน่าจะเป็นในการหาแฟนได้!
แต่ค่าเหล่านี้อาจจะมีความน่าเชื่อถือน้อยลง เพราะเป็นค่าที่ได้มาจากการบอกกล่าวของเพื่อนๆ หรือจากการประเมินตนเองแบบถ่อมตัว…
“คุณมีไหวพริบในบทสนทนามากแค่ไหน ระหว่างหนึ่งถึงสิบ”
“ผมมีไหวพริบและรอบรู้อย่างยอดเยี่ยมเลย”
“พวกนายล่ะ คิดว่าอย่างไร?”
“ผมคงให้เค้า เต็มสิบ ครับ”
และค่าปัจจัยจากชีวิตจริงเหล่านี้ ถูกนำมาคำนวณผลที่น่าจะเป็นไปได้
“เอาล่ะเราได้ หนึ่ง หนึ่งจุดสี่ นี่ก็เทียบเท่ากับ เก้า..สามสิบห้า…นายมีโอกาสเกือบ เก้าสิบห้า เปอร์เซนต์ กับสาวคนนี้นะ!”
หนุ่มๆ พร้อมแล้วที่จะทดสอบตัวเลขความน่าจะเป็นที่ได้
แต่มีอยู่หนึ่งคน ที่ยังคงลังเล…
“นายไม่ต้องการใช้คณิตศาสตร์รึ!?”
“ไม่ล่ะครับ ผมจัดการด้วยวิธีของผมเองได้!”
แต่ใครล่ะที่จะประสบความสำเร็จ?
“สวัสดี สำเร็จไปตามๆ กัน นายได้ใช่ไหม ใช่ไหม?”
“ไม่...”
“ไม่!? เกิดอะไรขึ้น!?”
“ผมน่าจะเชื่อวิธีคณิตศาสตร์!”
“นายน่าจะเชื่อวิธีคณิตศาสตร์! ทุกๆ คน ยกเว้นนายคนนี้ ไว้คราวหน้าละกัน”
“คราวหน้า แน่นอน”
สมการจีบสาวของ การ์ธ ไม่ได้มีทุกๆ คำตอบ แต่มันก็เป็นตัวอย่างในการโยงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ในชีวิตจริง เพื่อหาตัวชี้วัดความน่าจะเป็น
อัตวิสัยของค่าปัจจัยตัวประกอบมีผลต่อความน่าเชื่อถือของสมการ
ดังนั้น คุณต้องมั่นใจว่า ตัวเลขที่คุณประเมินไว้นั้น สมจริง…