ในปี ค.ศ.1991 เพอร์ ลินด์สตรานด์ และนายทุนชื่อ ริชาร์ด แบรนสัน ได้พยายาม เดินทางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกโดยบอลลูนอากาศร้อนเป็นครั้งแรก
ในการนี้พวกเขาต้องทำลายสถิติโลก และบินเป็นระยะทางกว่า 11,000 กิโลเมตร จากประเทศญี่ปุ่นถึงประเทศแคนาดา
บอลลูน จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการสร้างมา
ปริมาตรของบอลลูน
บอลลูนที่ใช้อากาศร้อน มีหลากหลายรูปแบบมาก แต่รูปทรงเช่นนี้ไม่มีประสิทธิภาพ
มันใช้วัสดุมาก...แต่เก็บอากาศได้ไม่มากเท่าที่ควร
อัตราส่วนระหว่างพื้นที่ผิวและปริมาตรของพวกมันไม่ค่อยดีนัก
ปริมาตรของบอลลูนอากาศร้อน มีความสำคัญมากต่อการบินของมัน
เมื่ออากาศภายในบอลลูนถูกทำให้ร้อนขึ้น ความหนาแน่นจะลดลง
ทำให้มันหนาแน่นน้อยกว่าอากาศภายนอก จึงสร้างแรงยกตัวให้บอลลูนสามารถบินได้
และเนื่องจากอากาศร้อนนั่นเองที่ทำหน้าที่รักษาแรงยกไว้ ปริมาตรจึงมีความสำคัญ ต่อการบินระยะยาวของบอลลูน
โดยประมาณแล้ว บอลลูนอากาศร้อนมักจะมีรูปทรงกลม เนื่องจากทรงกลม เป็นทรงที่ มีอัตราส่วนของพื้นที่ผิวต่อปริมาตรที่ดีที่สุด
ปริมาตรของบอลลูนแปซิฟิกฟลายเออร์
แต่ในการบินข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก บอลลูนเวอร์จินแปซิฟิกฟลายเออร์จะต้องมีปริมาตรที่มากที่สุด
เพอร์ ลินด์สตรานด์ วิศวกรการบินและอากาศยาน – “สำหรับเราแล้ว เราต้องบินสามวัน ซึ่งหมายความว่าเราต้องบรรทุกก๊าซโพรเพน ประมาณ 6 ตัน และด้วยน้ำหนักนี้ เราสามารถคำนวณปริมาตรได้ ซึ่งได้เท่ากับ 2.6 ล้านลูกบาศก์ฟุต นั่นก็ประมาณ 75,000 ลูกบาศก์เมตร”
โดยการใช้สูตรหาปริมาตรของทรงกลม สี่ส่วนสาม คูณ พาย คูณ อาร์ยกกำลังสาม วิศวกรสามารถคำนวณหามิติของบอลลูนได้
มันควรจะมีรัศมี 26 เมตร... และต้องใช้วัสดุประมาณ 8,500 ตารางเมตรในการสร้าง
เวอร์จินแปซิฟิกฟลายเออร์ได้กลายเป็นบอลลูนอากาศร้อนที่ใหญ่ที่สุด ที่ได้ลอยขึ้นบนท้องฟ้า ใหญ่มากพอที่จะกลืนเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่
และการผจญภัยครั้งนี้ก็ประสบความสำเร็จ โดยบอลลูนนี้ได้สร้างสถิติโลกอันใหม่ ด้วย การเดินทางกว่า 11,000 กิโลเมตรข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก