แม้ว่าคุณจะรู้สึกว่าสามารถอยู่นิ่งสนิท โดยไม่มีการเคลื่อนไหวได้ แต่คุณก็ยังคงเคลื่อนที่อยู่
ถึงแม้ว่าเราไม่รู้สึกว่าเรากำลังเคลื่อนที่ในขณะที่เรายืนนิ่งอยู่บนพื้น แต่โลกมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาในห้วงอวกาศ
และแม้จะไม่ได้ออกไปนอกโลก นักดาราศาสตร์ก็สามารถคำนวณได้ว่าเราเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วเท่าใด
ระยะทางการโคจร
ในแต่ละปี โลกเคลื่อนที่ไปครบหนึ่งรอบเส้นทางดาราศาสตร์
มันโคจรรอบดวงอาทิตย์ ในลักษณะที่เกือบจะเป็นวงกลม
นักดาราศาสตร์สมัยก่อน คำนวณรัศมีของวงกลมนี้ โดยการสังเกตจากมาตราส่วนและตำแหน่งของวัตถุอื่นๆ ในท้องฟ้า เช่น การเคลื่อนที่ของดาวศุกร์
รัศมีวงโคจรนี้มีขนาดประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร
โดยการคูณรัศมีนี้ด้วยสอง นักดาราศาสตร์สามารถคำนวณเส้นผ่านศูนย์กลางของวงโคจรได้และทำให้สามารถคำนวณเส้นรอบวง ซึ่งเป็นระยะทางโดยประมาณของวงโคจร
ว่าจะอยู่ที่ประมาณ 940 ล้านกิโลเมตร โดยมีเลขนัยสำคัญสองตำแหน่ง
อัตราเร็วของการโคจร
โลกโคจรหนึ่งรอบเป็นระยะทาง 940 ล้านกิโลเมตร โดยใช้ระยะเวลาหนึ่งปีพอดี หรือ 8,766 ชั่วโมง
ซึ่งสามารถแปลงได้เป็น 31.558 ล้านวินาที
เพราะฉะนั้น นักดาราศาสตร์จึงสามารถคำนวณได้อย่างแม่นยำว่า โลกเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วเท่าใดในหน่วยของเมตรต่อวินาที
อัตราเร็ว = ระยะทาง / เวลา
อัตราเร็ว = 940,000,000,000 / 31,558,000
อัตราเร็ว = 30,000 เมตร / วินาที
นี่ทำให้เราทราบว่าโลกเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วถึงเกือบ 30,000 เมตรในทุกๆ วินาที
ถึงแม้ว่าเราจะรู้สึกเหมือนเรากำลังยืนอยู่นิ่งๆ ก็ตาม
ไม่น่าเชื่อเลยว่า ภายในช่วงเวลาที่คุณใช้ไปในการดูภาพยนตร์เรื่องนี้ คุณได้เคลื่อนที่ไปแล้วในห้วงอวกาศเป็นระยะทางถึง 4.86 ล้านเมตร