อินเดีย
ในปี ค.ศ.1727 ราชาผู้ยิ่งใหญ่แห่งอินเดียผู้หนึ่งได้สร้างเมืองใหม่ ซึ่งมีชื่อเดียวกับพระองค์
พระเจ้าไจซิงห์ ที่สอง ปี ค.ศ.1688–1743
พระเจ้าไจซิงห์ ที่สอง ราชาผู้เป็นทั้งนักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ หลงใหลในวิทยาศาสตร์ และองค์ความรู้ต่างๆ ทรงออกแบบและสร้างเมืองจัยปูร์ขึ้น
พระองค์ทรงได้รับการศึกษาที่ดีและทรงมีพระปรีชาสามารถเป็นอย่างยิ่ง ทรงขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชันษาเพียง 11 ชันษา
ด้วยความเชื่อว่าพระองค์ทรงสืบเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์ พระเจ้าไจซิงห์ จึงทรงพยายามหาหนทางที่จะไขความลับของสวรรค์
พระองค์ทรงต้องการคำนวณให้แม่นยำมากกว่าใครๆ ที่เคยทำไว้ก่อนหน้านี้
ดังนั้นพระองค์จึงทรงสร้างหอดูดาวขนาดใหญ่ขึ้นมากมาย
จันตาร์ มันตาร์
จัยปูร์ อินเดีย
พระเจ้าไจซิงห์ ทรงสร้างหอดูดาวที่ใหญ่ที่สุดในเมืองจัยปูร์
หอดูดาว จันตาร์ มันตาร์ ประกอบด้วยอุปกรณ์ขนาดใหญ่ 9 ชิ้น ซึ่งทำจากหินและหินอ่อน
สัมรัต ยันตรา
ด้วยความสูงถึง 27 เมตร สัมรัต ยันตรา กลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นของภูมิประเทศ
สัมรัต ยันตราคือ นาฬิกาแดดที่ใหญ่ที่สุดในโลก และบอกเวลาด้วยเงาของมัน
พระเจ้าไจซิงห์ ทรงศึกษาอุปกรณ์ต่างๆ ของชาวยุโรป และรู้ว่าขนาดของอุปกรณ์เหล่านั้นส่งผลต่อความแม่นยำของเครื่องมือ
พระองค์จึงทรงสร้าง สัมรัต ยันตรา ให้มีขนาดใหญ่มากเพื่อให้เงาทอดยาวขึ้น ทำให้สามารถวัดด้วยความละเอียดที่สุดในโลก
ในทุกๆ ชั่วโมง เงาของนาฬิกาจะยาวขึ้นประมาณ 3.6 เมตร
แต่หากลดขนาดลงครึ่งหนึ่ง ทุกๆ ชั่วโมง เงาจะเคลื่อนที่เพียง 1.8 เมตร ซึ่งหมายความว่าความแม่นยำถูกลดลงไปครึ่งหนึ่ง
ดังนั้น พระเจ้าไจซิงห์ จึงทรงเพิ่มความแม่นยำโดยการเพิ่มขนาดของเครื่องมือ
ในทุกๆ หนึ่งนาที เงาจะเคลื่อนที่ไป 6 เมตร
ระยะทาง 6 เมตร ถูกแบ่งออกเป็นส่วนที่เท่าๆ กัน 30 ส่วน
ดังนั้น นาฬิกาแดดนี้จึงมีความแม่นยำ โดยมีความคลาดเคลื่อนไม่เกินสองวินาที
ในศตวรรษที่ 18 การวัดสามารถมองด้วยตาเปล่า ซึ่งเป็นมาตรฐานใหม่ของความแม่นยำและถือเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญ
มันทำให้นักดาราศาสตร์สามารถทำนายการเกิดจันทรุปราคา และการเกิดลมมรสุมต่างๆ...
และยังทำให้ พระเจ้าไจซิงห์ ได้รับการจดจำจากผลงานทางวิศวกรรมและอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์อันน่าทึ่งของพระองค์