ร้อนมากพอจะหลอมโปรตอนและนิวตรอนได้!!!
เมื่อเวลาผ่านไปการแผ่รังสี สามารถทำให้สารเหล่านี้ อยู่ในสถานะเสถียร และไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
เพื่อเปลี่ยนจากสถานะไม่เสถียรมาอยู่ในสภาวะเสถียร นิวเคลียสของสารเหล่านี้ จะต้องเปลี่ยนแปลงผ่านกระบวนการปลดปล่อยรังสี
กระบวนการนี้เรียกว่า การสลายกัมมันตรังสี ซึ่งธาตุที่ผ่านกระบวนการนี้ จะถูกเปลี่ยนเป็นธาตุชนิดอื่นที่ต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง
การสลายตัวของสารกัมมันตรังสี
ธาตุตัวใหม่ที่เกิดขึ้น อาจจะมีความเสถียรหรือไม่ก็ได้ ซึ่งหากธาตุยังไม่เสถียร กระบวนการสลายตัวจะยังคงเกิดวนซ้ำต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งได้ธาตุที่มีสถานะเสถียร
ตัวอย่างเช่น สารโมลิบดีนัม-99 ซึ่งเป็นไอโซโทปที่ไม่เสถียร เมื่อเกิดการสลายตัว จะปลดปล่อยรังสีเบตา และแปรเปลี่ยนเป็นสารเทคนีเซียม ซึ่งยังเป็นสารที่มีสถานะไม่เสถียร
โดยสารเทคนีเซียมจะสลายตัวโดยการปล่อยรังสีแกมมาและรังสีเบตา เพื่อเปลี่ยนเป็นสารรูทีเนียม-99 ซึ่งเป็นสารที่มีสภาวะเสถียร
เทคนีเซียม-99
รูทีเนียม-99
ศาสตราจารย์เมลวิน ไมเออร์ อิมพีเรียลคอลเลจ ลอนดอน สหราชอาณาจักร–“ถ้าผมถือสารโมลิบดีนัมปริมาณขนาดนี้ไว้ในมือเมื่อประมาณหกเดือนก่อน มันคงจะเป็นอันตรายมากๆ กับผม แต่หลังจากปล่อยให้สารนี้เกิดการสลายตัวมาแล้วหกเดือน
ตอนนี้ผมสามารถถือมันได้อย่างปลอดภัยโดยไม่ต้องกังวลเลยครับ”
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไหร่สารกัมตรังสีจะไม่เป็นอันตรายอีกต่อไป?
ครึ่งชีวิต
นักวิทยาศาสตร์สามารถบอกได้จากการคำนวณ ครึ่งชีวิตของสารกัมมันตรังสี ซึ่งก็คือเวลาที่สารนั้นใช้ในการสลายตัวจนเหลือปริมาณเพียงครึ่งเดียว
ไอโซโทปของโมลิบดีนัมมีครึ่งชีวิตประมาณสามวัน
โมลิบดีนัม-99
ดังนั้นถ้าเรามีโมลิบดีนัมอยู่ยี่สิบกรัม
หลังจากเวลาผ่านไปสามวัน ...
Please log in to view and download the complete transcript.