อียิปต์โบราณ
ศตวรรษที่ 15 ก่อนคริสตกาล
พระราชินีฮัทเชฟซุทเป็นฟาโรห์หญิงองค์แรกแห่งอียิปต์โบราณ
พระนางเป็นที่รู้จักในนาม ‘ราชินีผู้ซึ่งเป็นกษัตริย์ฟาโรห์’ เนื่องจากพระนางได้เสด็จประพาสและทรงเดินทางผจญภัยท้าทายยิ่งกว่ากษัตริย์ฟาโรห์องค์ใดๆ ที่เคยมีมา
วิหารฮัทเชฟซุท ณ เดอีร์เอลบาฮารี
อียิปต์
สุสานของพระนางที่นี่ เป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดแจ้งและสะดุดตาอันหนึ่ง ในการเดินทางของพระนาง
งานศิลปะชิ้นนี้ พรรณนาการเดินทางทางทะเลที่ท้าทายไปยังดินแดนพันต์ ซึ่งในปัจจุบันคือ ประเทศโซมาเลีย
ขณะเดียวกัน มันยังทำให้นักธรณีวิทยาทราบถึงพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่แม่นยำ ที่นำมาใช้สร้างเส้นทางเสด็จของพระราชินีขึ้นใหม่อีกครั้งด้วย
การก่อสร้างเรือ
งานแกะสลักในสุสานของพระราชินีฮัทเชฟซุท มีภาพของเรือลำที่ล่องไปยังดินแดนพันต์ ที่รู้จักกันอยู่เพียงภาพเดียว
ในปี ค.ศ.2009 ทีมนักธรณีวิทยานานาชาติ ได้ริเริ่มโครงการอันท้าทายในการสร้างเรือจำลองขนาดเสมือนจริง โดยยึดภาพนี้เป็นแบบ
ทีมงานรู้ว่า ความสูงเฉลี่ยของชาวอียิปต์โบราณ คือ 165 เซนติเมตร...
และคนบนเรือในรูปแกะสลักนั้นวัดได้ที่ 16.5 เซนติเมตร
ดังนั้น ทีมงานจึงตระหนักว่า งานศิลปะชิ้นนี้ทำขึ้นโดยใช้มาตราส่วน
มาตราส่วน:
อัตราส่วนระหว่างวัตถุจริงและรูปจำลอง
อาศัยมาตราส่วนลดลง 10 ต่อ 1 ในงานศิลปะชิ้นนี้ ทีมงานจึงรู้ว่าพวกเขาต้องขยายขนาดทุกๆ ส่วน ด้วยตัวคูณ 10 เท่า
โดยใช้หลักการนี้ ทีมงานสามารถวัดขนาดแต่ละส่วนของภาพวาด และคำนวณขนาดต้นฉบับได้ไม่ยาก
การก่อสร้างแบบจำลองขนาดเสมือนจริง
เมื่อได้ทำการคำนวณทั้งหมดแล้วเสร็จ งานที่ยากลำบากในการสร้างเรือก็เริ่มต้นขึ้น
ทีมงานได้ใช้วิธีการก่อสร้างแบบดั้งเดิม เพื่อที่จะสร้างทุกๆ มิลลิเมตรของเรือลำนี้ขึ้นมาใหม่อย่างอุตสาหะ
เมื่อการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ เรือลำนี้ก็ได้เริ่มต้นการเดินทางครั้งแรก
สำเร็จ เรือลำนี้แข็งแรงพอสำหรับออกทะเล และทีมงานได้ล่องมันไปยังดินแดนพันต์ และเดินทางกลับมา
การเดินทางทางเรือของพวกเขาได้แสดงให้เห็นแล้วว่า มันทำได้จริงเช่นเดียวกันกับการเดินทางของราชินีฮัทเชฟซุทผู้ซึ่งเดินทางทางเรือกลับมา โดยบรรทุกสัตว์ต่างแดน เครื่องเทศ และทองคำ
ต่อมา นักธรณีวิทยาได้ค้นพบหีบสมบัติเหล่านี้บนชายฝั่งทะเลอียิปต์
คำจารึกระบุว่า ‘สิ่งมหัศจรรย์ จากดินแดนพันต์’