โดยปกติ เด็กผู้หญิงจะเริ่มย่างเข้าสู่วัยรุ่นในช่วงอายุระหว่าง 8 ถึง 14 ปี
สมองจะสั่งการให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนฟอลลิเคิลสติมิวเลติงและฮอร์โมนลูทิไนซิง เพื่อไปออกฤทธิ์ที่รังไข่
ฮอร์โมนฟอลลิเคิลสติมิวเลติง ฮอร์โมนลูทิไนซิง
มันช่วยกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงที่เรียกว่า อีสโตรเจนและโพรเจสเตอโรน
อีสโตรเจน โพรเจสเตอโรน
ฮอร์โมนทั้ง 4 ชนิดนี้จะทำงานร่วมกัน เพื่อควบคุมการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในร่างกายของเด็กหญิงในการย่างเข้าสู่วัยรุ่น นั่นคือ การเริ่มมีประจำเดือน
"ฉันไม่อยากมีประจำเดือน ทำไมนะหรือคะ เพราะเหมือนว่าทุกคนจะหงุดหงิดกันไปหมดเลยนะสิ"
ในการมีประจำเดือนครั้งแรก ไข่หนึ่งใบในจำนวนนับสิบล้านใบที่อยู่ในรังไข่ของเธอ จะถูกปล่อยออกมา และเคลื่อนตัวไปตามท่อนำไข่ เข้าสู่มดลูก
ถ้าไข่ไม่ได้รับการผสม ระดับของฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนจะลดลง เยื่อบุมดลูกที่ก่อตัวกันหนาขึ้นเพื่อเตรียมที่จะรองรับตัวไข่ที่ได้รับการผสม จะหลุดลอก กลายเป็นประจำเดือน
ผนังมดลูกหลุดลอก
ฮอร์โมนจากสมองและรังไข่ จะถูกหลั่งออกมาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันมาก เพื่อทำให้กระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำเป็นวงจร ประจำทุก ๆ เดือน
ในช่วงเริ่มต้นของการย่างเข้าสู่วัยรุ่น ฮอร์โมนอีสโตรเจนมีผลอย่างมากต่อร่างกายของเด็กหญิง
มันทำให้เกิดลักษณะทางเพศภายนอกในช่วงวัยรุ่นของเด็กหญิง
ลักษณะทางเพศภายนอก
ซึ่งรวมถึงการมีทรวงอกที่ใหญ่ขึ้น และมีการขยายตัวของสะโพก
ทรวงอกใหญ่ขึ้น สะโพกขยาย ...
Please log in to view and download the complete transcript.