รูปภาพที่มีชื่อเสียงรูปนี้แสดงให้เห็นว่าเรขาคณิตได้ถูกใช้มานานนับศตวรรษ เพื่อเปิดเผยความลับในการออกแบบของธรรมชาติ
รูปภาพนี้ได้ใช้รูปทรงเรขาคณิตอย่างง่ายของวงกลมและสี่เหลี่ยมจัตุรัส และแนวคิดเรื่องสัดส่วน โดยอาศัยแนวคิดจากงานเขียนของนักเขียนชาวโรมันที่มีชื่อว่า วิทรูเวียส
วิทรูเวียส ผู้ซึ่งสนใจงานสถาปัตยกรรมเป็นอย่างมาก ได้เขียนไว้ว่าสิ่งก่อสร้างทั้งหลายควรจะถูกออกแบบด้วยหลักการเดียวกันคือ ให้มีรูปแบบที่เหมือนที่ธรรมชาติได้ออกแบบไว้อย่างสมบูรณ์มากที่สุดอยู่แล้ว
นั่นก็คือ ร่างกายของมนุษย์
แต่การนำเสนอรูปทรงที่สมบูรณ์แบบของมนุษย์ตามที่ได้กล่าวไว้ในงานของวิทรูเวียสนั้นเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยความแยบยล
ความพยายามครั้งก่อนๆ แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ไม่ได้สมบูรณ์แบบ
จนต้องให้คนเก่งอย่างลีโอนาโด ดาวินชี มาแก้ปัญหา ด้วยการนำเสนอรูปแบบของมนุษย์ตามแนวคิดของวิทรูเวียส
ลีโอนาโด ดา วินชี
ปี ค.ศ.1452–1519
เรขาคณิตของร่างกายมนุษย์
รูปวาดของดาวินชีสามารถใช้ความจริงที่วิทรูเวียสค้นพบว่า ส่วนต่างๆ ของร่างกายคนมีสัดส่วนที่เหมาะสมตามหลักเรขาคณิต
ยกตัวอย่างเช่น วิทรูเวียสกล่าวว่า ความกว้างของฝ่ามือคนจะเท่ากับความกว้างของนิ้วสี่นิ้ว
ความยาวของส่วนหัวนับจากคางจนถึงบนสุดของหัวจะมีค่าเท่ากับหนึ่งส่วนแปดของความสูง
และความสูงของทั้งตัวก็จะเท่ากับขนาดของฝ่ามือ 24 ฝ่ามือ
อัตราส่วนต่างๆ นี้ช่วยชี้นำแผนภาพของดาวินชีในการบรรยายกายวิภาคของมนุษย์ ผ่านการแสดงภาพร่างกายมนุษย์ที่ถูกจัดวางสัดส่วนได้อย่างสมบูรณ์
ผลงานของดาวินชีที่แสดงแนวความคิดวิทรูเวียสชิ้นนี้ ยังแสดงรูปทรงของมนุษย์ของเขา ในกรอบของรูปทรงเรขาคณิต 2 รูปคือ สี่เหลี่ยมจัตุรัสและวงกลม
แต่เขาชอบงานครั้งก่อน ที่แยกจุดศูนย์กลางของสองรูปทรงนี้ออกจากกันมากกว่า
ซึ่งรูปเรขาคณิตที่ประสานลงบนรูปของผู้ชายนี้ ก่อให้เกิดลักษณะของความสมมาตร
งานดาวินชีชิ้นนี้ยังไม่เหมือนใคร เนื่องจากเขาวางรูป 2 ครั้ง ตามแนวขวางของรูปที่อยู่ในระนาบสี่เหลี่ยมจัตุรัส กับที่ยืดตัวในแนวระนาบของวงกลม
เช่นเดียวกันกับวิทรูเวียส ดาวินชีคิดว่าการ ‘ออกแบบ’ ร่างกายของมนุษย์ โดยธรรมชาติ ควรเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานต่างๆ ของมนุษย์เอง
ซึ่งจริงๆ แล้ว หลักการทางเรขาคณิตของวิทรูเวียส ได้เป็นแรงบันดาลใจ ทางด้านสถาปัตยกรรมในยุคเรอเนซองส์และยุคก่อนหน้านั้นมาแล้ว
โบสถ์รีดีมเมอร์
เวนิส อิตาลี