ก่อนคริสตศตวรรษที่ 15 เหล่าจิตรกร มีข้อจำกัดของการใช้มาตราส่วนและสัดส่วน ซึ่งทำให้ภาพวาดหรือผลงานศิลปะของพวกเขานั้นดูแบนราบ
แต่ทุกอย่างเปลี่ยนไป เมื่อเรขาคณิตได้ให้มุมมองและมิติแบบใหม่ขึ้น
การวาดภาพแบบมีมิติสมจริง
โลกของศิลปะ มีโอกาสได้ทดลองวาดภาพแบบมีมิติสมจริง ในช่วงยุคของการฟื้นฟูศิลปะและวิทยาการ ซึ่งได้ให้มิติใหม่แก่วงการศิลปะ
การวาดภาพแบบมีมิติสมจริงนั้น เป็นคณิตศาสตร์ในศิลปะของการแสดงวัตถุสามมิติ ให้ได้อย่างสมจริงบนกระดาษสองมิติ
การวาดภาพแบบมีมิติสมจริงคือ
ภาพสองมิติที่เป็นตัวแทนของวัตถุที่แสดงในสามมิติ
ฟิลิปโป บรูเนลเลสกี
ปี ค.ศ.1377–1466
ฟิลิปโป บรูเนลเลสกี เป็นสถาปนิกชาวเมืองฟลอเรนซ์
ในปี ค.ศ.1425 เขาได้สร้างกฎสำหรับการวาดภาพแบบมีมิติสมจริงขึ้น
นี่คือรูปภาพของอาคาร ซึ่งตั้งอยู่ข้างๆ ถนนและผืนน้ำ
ซึ่งภาพนี้จะดูเรียบแบนมาก ก่อนที่จะมีการประยุกต์ใช้วิธีการวาดภาพแบบมีมิติสมจริงของบรูเนลเลสกี
เส้นตรงที่ปรากฏในสามมิติยังคงปรากฏเป็นเส้นตรง เมื่อนำมาวาดภาพในสองมิติ
แต่มันคือมุมของเส้นที่จะให้มิติของความลึก
บรูเนลเลสกีอธิบายว่า เส้นในแนวนอนยังจะคงความเป็นเส้นในแนวนอนในรูปภาพอยู่
เส้นขนานที่วิ่งในแนวตั้งหรือในแนวนอนจะยังวิ่งขนานกันอยู่
แต่เพื่อที่จะให้ได้มิติแห่งความลึก เส้นขนานในแนวอื่นๆ จะต้องลู่เข้าหากันที่จุดๆ หนึ่งในภาพ
จุดลู่เข้า
จุดนี้เรียกว่า จุดลู่เข้า
มาตราส่วน
ปิเอโร เดลลา ฟรานเชสกา
ปี ค.ศ.1415–1492
ศิลปินอีกคนหนึ่งในช่วงยุคฟื้นฟูศิลปะและวัฒนธรรมก็คือ ปิเอโร เดลลา ฟรานเชสกา ซึ่งเป็นศิลปินร่วมสมัยกันกับ บรูเนลเลสกี
จากความหลงใหลในวิชาเรขาคณิต ฟรานเชสกาได้ใช้สัดส่วนในการเพิ่มมิติเข้าไปในงานของเขา
รูปนี้แสดงคนสามคน
การใช้มาตราส่วนที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ภาพนั้นดูเรียบแบน
เมื่อเปลี่ยนขนาดของคน ความมีมิติสมจริงก็ถูกนำกลับคืนมา
วัตถุที่ใหญ่กว่า จะให้ความรู้สึกว่าอยู่ใกล้กว่า
โดยการใช้มาตราส่วนและการวาดภาพแบบมีมิติสมจริง โลกในสามมิติก็สามารถถูกนำมาแสดงลงบนผืนภาพสองมิติได้
ความประทับใจในการวาดภาพแบบมีมิติสมจริงนี้ มีอิทธิพลอย่างมากต่อผลงานของศิลปินหลายๆ คน รวมถึง ลีโอนาโด ดาวินชี
มันคือการวาดภาพแบบมีมิติสมจริง และการใช้มาตราส่วนที่ทำให้ภาพโมนาลิซานั้นดูตรึงสายตาเราและดูเหมือนจริงเป็นอย่างมาก