เมื่อมองจากเบื้องบน มหาสมุทรเป็นเสมือนภูมิประเทศโล่ง ไร้ซึ่งชีวิต และไม่มีที่สิ้นสุด
แต่ภายใต้พื้นผิวน้ำมหาสมุทร กลับเป็นที่อยู่ของมวลหมู่ชีวิตปริมาณมหาศาล
นี่คือท้องทะเลส่วนตื้นที่แสงอาทิตย์ส่องถึง
บริเวณทะเลส่วนตื้น: ความลึก: 0 ถึง 200 เมตร อุณหภูมิ: -2 ถึง 40 องศาเซลเซียส ปริมาณแสงอาทิตย์มาก
ภายในส่วนที่แสงอาทิตย์ส่องถึงนี้ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น แพลงก์ตอนและสาหร่าย ที่สามารถแปลงพลังงานจากดวงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ ด้วยกระบวนการสังเคราะห์แสง
และที่ใดมีพืช ที่นั่นย่อมมีสัตว์
กุ้งเคยและปลาขนาดเล็กกินสาหร่ายและแพลงก์ตอนพืชเป็นอาหาร ขณะเดียวกันก็ดึงดูดผู้ล่าที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น ปลากระโทงลาย ทูน่า กระโทงร่ม โลมา ฉลามวาฬ และแม้กระทั่งนกต่างๆ ในขณะที่กระเบนราหูดูดน้ำเข้ามาเพื่อกรองหาอาหารเช่น ไข่ปลาต่างๆ
มหาสมุทรอันกว้างใหญ่ แทบจะไม่มีแหล่งหลบภัยจากผู้ล่าเลย แต่เศษขยะและสาหร่ายทะเลที่ล่องลอยอยู่ก็อาจจะใช้เป็นแหล่งคุ้มกันภัยได้บ้าง
ในบางพื้นที่ ท้องทะเลที่ว่างเปล่าอาจมีเนินเขาแทรกตัวอยู่ นี่คือภูเขาใต้ทะเลที่อาจสูงเป็นพันๆ เมตรจากพื้นมหาสมุทร
เนินเขาใต้ทะเล
ที่นี่เป็นแหล่งที่ค่อนข้างปลอดภัย ให้ลูกปลาได้เจริญเติบโต ในขณะที่ปลาอื่นก็มาที่นี่เพื่อขยายพันธุ์
แต่มันก็ไม่ถึงกับปลอดภัยโดยสิ้นเชิง ผู้ล่า เช่น ฉลามหัวค้อนและฉลามซิลกี วนเวียนหากินอยู่บริเวณนี้
ท้องทะเลส่วนตื้นหรือบริเวณที่แสงส่องถึงนี้มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่หนาแน่น แต่ลึกลงไปเพียงอีกไม่กี่ร้อยเมตรกลับเป็นโลกที่แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง