ฤดูหนาวในเขตอาร์กติกและแอนตาร์กติกา หมายถึงอุณหภูมิที่อาจต่ำถึง -70 องศาเซลเซียส
น้ำทะเลเริ่มแข็งตัวที่ -2 องศาเซลเซียส ทำให้ในเวลาเช่นนี้ ทะเลอาร์กติกจะถูกปกคลุมด้วยชั้นน้ำแข็งที่หนาถึง 3 เมตร
มหาสมุทรอาร์กติก:น้ำแข็งในฤดูหนาวปกคลุมพื้นที่ 16 ล้านตารางกิโลเมตร
ที่แอนตาร์กติกา น้ำแข็งของฤดูหนาวเคลื่อนปกคลุมทะเลใต้ด้วยอัตราเร็วที่น่าทึ่ง คือ 100,000 ตารางกิโลเมตรต่อวัน
มหาสมุทรตอนใต้: น้ำแข็งในฤดูหนาวปกคลุมพื้นที่ 20 ล้านตารางกิโลเมตร
ทะเลเยือกแข็งเหล่านี้อาจดูคล้ายกัน แต่มันค้ำจุนระบบนิเวศที่แตกต่างกัน คือ ระบบนิเวศเบื้องบนและเบื้องล่างแผ่นน้ำแข็ง
อาร์กติก
ในเขตอาร์กติก หมีขั้วโลกลาดตระเวนทะเลน้ำแข็ง เพื่อล่าแมวน้ำและวาฬขาว
แมวน้ำเองได้พัฒนากลยุทธ์หลากหลาย เพื่อความอยู่รอดของลูกๆ
แมวน้ำหัวหงอนขยายพันธุ์บนแผ่นน้ำแข็งที่ไม่มั่นคง เพราะหมีขั้วโลกมักไม่ออกไปบริเวณนั้น
ลูกแมวน้ำลายพิณ มีสีขาวเพื่อการพรางตัว
และแมวน้ำวงแหวน ซ่อนลูกของมันไว้ใต้หิมะ
แอนตาร์กติกา
ที่แอนตาร์กติกา ไม่มีผู้ล่าบนบก เพนกวินจักรพรรดิสามารถใช้ชีวิตบนแผ่นน้ำแข็งในฤดูหนาว ได้อย่างค่อนข้างจะปลอดภัย
เพราะผู้ล่าหลักของมันอย่างแมวน้ำเสือดาว รอคอยพวกมันอยู่ในทะเล
อาร์กติก
ในฤดูใบไม้ผลิ ทะเลเยือกแข็งทั้งสองแห่งเริ่มละลาย
ทะเลอาร์กติกมีน้ำแข็งลดขนาดลงจาก 16 ล้านตารางกิโลเมตรเหลือเพียง 9 ล้านตารางกิโลเมตร
วาฬขาวจะว่ายไปยังเขตน้ำตื้น เพื่อลอกผิวหนังเก่าออก
ตัววอลรัสหาหอยตลับกินเป็นอาหาร นกทะเลปากยาวพุ่งตัวดำดิ่งสู่ความลึกถึง 50 เมตรเพื่อหาปลาและนาร์วาลผู้ลึกลับ ว่ายออกตามช่องในทะเลน้ำแข็งสู่แหล่งจับปลา
แอนตาร์กติกา
ในทะเลใต้ ภูเขาน้ำแข็งขนาดมหึมาอาจถล่มและลอยออกทะเล
ฝูงกุ้งเคยนับล้านที่แหวกว่ายในทะเลดึงดูดเหล่าแมวน้ำขนยาว วาฬมิงค์ และวาฬหลังค่อมที่สามารถกินกุ้งเคยได้ถึงสองตันต่อวัน
สำหรับสิ่งแวดล้อมเยือกแข็งทั้งสองแห่ง ซึ่งไม่น่าจะมีสิ่งใดอาศัยอยู่ได้ กลับพบว่ามีสิ่งมีชีวิตมากมายที่พบได้ในทะเลน้ำแข็งนี้