นิวเคลียร์ฟิชชันเป็นกระบวนการที่อะตอมถูกแยกออกจากกันภายในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เพื่อปลดปล่อยพลังงานปริมาณมากออกมา
อย่างไรก็ตาม หลายคนเชื่อว่า นิวเคลียร์ฟิวชันเป็นอนาคตของการผลิตพลังงาน
ฟิวชันเกี่ยวข้องกับการหลอมรวมนิวเคลียสของสารสองตัวเข้าด้วยกัน เพื่อเกิดสารใหม่ที่หนักกว่าเดิม
กระบวนการเช่นนี้จะทำให้เกิดการปลดปล่อยพลังงานปริมาณมากออกมา
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นได้ มันต้องการความร้อนปริมาณมหาศาล ซึ่งต่างจากนิวเคลียร์ฟิชชัน
ในทศวรรษที่ 1980 เกิดความตื่นเต้นขึ้นในวงการวิทยาศาสตร์ เมื่อมีนักวิทยาศาสตร์อ้างว่า ปฏิกิริยาเช่นเดียวกันนี้ สามารถเกิดขึ้นได้ที่อุณหภูมิต่ำ
ศาสตราจารย์มาติน เฟริชมัน มหาวิทยาลัยเซาท์แทมตัน สหราชอาณาจักร–“มีความเชื่อที่ว่าการสร้างปฏิกิริยาฟิวชัน เราจะต้องให้สองอะตอมชนกันอย่างแรง…และนั่นก็เป็นเบื้องหลังในการพยายามสร้างปฏิกิริยาฟิวชันแบบร้อนและสิ่งที่เรากำลังจะบอกคือ ไม่ ไม่ ไม่ ไม่ ไม่เลย… มันเป็นไปได้ที่จะเกิดปฏิกิริยาฟิวชันในเงื่อนไขที่ง่ายดายกว่านั้น”
ในปีค.ศ.1989 ทีมวิจัยของ ดร.เฟลิชมัน ได้เสนอว่าพวกเขาสามารถทำให้เกิดปฏิกิริยาฟิวชันแบบเย็นได้ในหลอดทดลอง !
พวกเขาใช้เชื้อเพลิงที่ใช้ในปฏิกิริยาฟิวชันแบบร้อน ซึ่งก็คือไอโซโทปหนักของไฮโดรเจนที่เรียกว่า ดิวเทอเรียม แล้วทำการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าไปเพียงเท่านั้น
ดิวเทอเรียม
ทีมของเฟลิชมันพบว่านิวตรอนถูกปล่อยออกมาจากสารนั้น ซึ่งแสดงว่าปฏิกิริยาฟิวชันได้เกิดขึ้นแล้ว
นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างเร่งรีบที่จะทำการทดลองซ้ำ
แต่การทดลองต้นแบบมีข้อผิดพลาดอย่างร้ายแรง
สำนักข่าว บีบีซี ปี ค.ศ.1989 –“นักวิทยาศาสตร์ด้านอะตอมแนวหน้าของอังกฤษก็ทำให้ทุกคนหมดความตื่นเต้นกับแนวคิดของปฏิกิริยาฟิวชันแบบเย็นพวกเขาทำการทดลองอย่างครอบคลุมและพบว่าไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่ามันสามารถเกิดขึ้นได้จริง”
แม้ว่าเครื่องมือที่ใช้วัดจะสามารถตรวจจับการเกิดขึ้นของนิวตรอน ...
Please log in to view and download the complete transcript.