ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ได้มีการอนุมานกันว่า นิวเคลียสของอะตอมสามารถปล่อยพลังงานออกมาได้
พลังงานนิวเคลียร์ที่เป็นผลจากข้อสรุปนี้ จะให้ผลทั้งในด้านคุณประโยชน์ และการทำลายล้าง
นิวเคลียร์ฟิชชัน
ความพยายามแรกๆ ในการนำพลังงานออกมาจากอะตอม เกิดขึ้นในรูปแบบของปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน ซึ่งจะสร้างพลังงานโดยการแบ่งแยกนิวเคลียสของอะตอม
นิวเคลียร์ฟิชชันเกิดปฏิกิริยาได้ดีที่สุดกับไอโซโทปของธาตุหนัก อย่างเช่น ยูเรเนียม
ธาตุยูเรเนียม U
ปฏิกิริยาฟิชชันแบบทั่วไป เกิดขึ้นจากการยิงนิวตรอนอิสระเข้าไปในนิวเคลียสของไอโซโทปอะตอมหนัก ยูเรเนียม-235
เลขมวล = 235
จำนวนนิวตรอน = 143
จำนวนโปรตรอน = 92
นิวตรอนนี้จะถูกดูดกลืนเข้าไปในนิวเคลียสของอะตอม และเปลี่ยนมันไปเป็นไอโซโทปยูเรเนียม-236 ซึ่งไม่เสถียร
ผลลัพท์ก็คือนิวเคลียสจะแตกออกเป็นส่วนที่เล็กลง เรียกว่า ผลผลิตฟิชชัน และได้นิวตรอนอิสระเพิ่มขึ้น
มวลรวมของผลผลิตเหล่านี้ จะน้อยกว่ามวลของนิวเคลียสตั้งต้นประมาณ 0.1 เปอร์เซ็นต์
มวล 0.1 เปอร์เซ็นต์นี่เอง ที่ถูกเปลี่ยนไปเป็นพลังงาน
หลังจากการแตกตัวของนิวเคลียสแรกนี้ สิ่งที่จะเกิดตามมาขึ้นอยู่กับว่าปฏิกิริยาฟิชชันเป็นแบบมีการควบคุม หรือไร้การควบคุม
ปฎิกิริยาฟิชชันแบบมีการควบคุม
...Please log in to view and download the complete transcript.