สงครามคาบสมุทรไครเมีย
ปี ค.ศ.1853-1856
ในปี ค.ศ.1853 ประเทศรัสเซียบุกประเทศตุรกี และเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามคาบสมุทรไครเมีย
เมื่อทหารอังกฤษเข้าร่วมสงครามด้วย พวกเขาเสียชีวิตไปหลายพันคน
ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล
ปี ค.ศ.1820-1910
นางพยาบาลฟลอเรนซ์ ไนติงเกลเดินทางมาที่ตุรกีเพื่อดูแลทหารอังกฤษ และพบว่าทหารเหล่านั้นได้รับการรักษาในสภาพที่สกปรก
และเธอก็รู้ว่าทหารเหล่านี้ ไม่ได้เสียชีวิตเพราะบาดแผลจากสงคราม
แผนภาพดอกกุหลาบ
เธอเริ่มสร้างแผนภูมิขึ้นมา
ซึ่งอธิบายธรรมชาติที่แท้จริงของการเสียชีวิตของพวกเขา
เธอสร้างแผนภาพดอกกุหลาบ ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนภูมิรูปวงกลมรูปแรกๆ ของโลก
กุหลาบแต่ละดอกแทนเวลา 1 ปี
โดยที่แต่ละกลีบแทน 1 เดือน
ส่วนสีชมพูแสดงให้เห็นว่ามีทหารกี่คนที่เสียชีวิตจากบาดแผลโดยตรง
ส่วนสีดำแสดงให้เห็นว่ามีทหารกี่คนที่เสียชีวิตจากสาเหตุอื่น เช่น บาดแผล จากการถูกความเย็นจัด หรือ อุบัติเหตุ
และส่วนสีฟ้าแสดงให้เห็นว่ามีกี่คนที่เสียไปด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ เช่น โรคบิด และ ไข้รากสาดใหญ่ ซึ่งเป็นกันมากในโรงพยาบาลต่างๆ
กุหลาบทางขวามือแสดงให้เห็นคร่าวๆ ว่าในปี ค.ศ.1855 ปีเดียว มีคนเสียชีวิตกี่คน
จากจำนวนทั้งหมด 18,000 คน...
มี 16,000 กรณีที่ป้องกันได้
เนื่องจากทหารนับหมื่นที่ตายไปมีสาเหตุจากโรคที่ป้องกันได้ เธอจึงเริ่มหาทางป้องกัน
ในเดือนมีนาคม ปี ค.ศ.1855 มีการเปลี่ยนระบบกำจัดน้ำเสียใหม่
กุหลาบทางซ้ายมือแสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการปรับปรุงสภาพสุขาภิบาลในโรงพยาบาลต่างๆ
ภายในหนึ่งปี จำนวนผู้เสียชีวิตลดลงไปเกือบ99%
และฟลอเรนซ์ ไนติงเกลก็มีวิธีที่จะแสดงให้เห็นถึงผลกระทบของการปรับปรุงสภาพสุขาภิบาลอย่างชัดเจน
การแสดงการเปลี่ยนแปลง
ไนติงเกลค้นพบว่าแผนภาพของเธอแสดงข้อมูลได้อย่างชัดเจนและสั้นกระชับ
นักการเมืองและเจ้าหน้าที่ทางการทหารจะไม่ค่อยอ่านรายงานข้อมูลทางสถิติยาวๆ
แต่พวกเขาตอบรับกับวิธีที่เธอนำเสนอข้อมูลให้เห็นเป็นภาพ
มาร์ค บอสทริดจ์ นักชีวประวัติของไนติงเกล – "“พวกเขาเริ่มต้นด้วยการตั้งแผนกสถิติขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ก่อนสิ้นศตวรรษที่ 19 กองทัพบกของอังกฤษผลิต สื่อทางสถิติได้ดีที่สุดในยุโรป นอกจากนี้ พวกเขายังจัดตั้งแผนกสุขาภิบาลศาสตร์ขึ้นใหม่ ปรับปรุงโครงสร้างของแผนกการแพทย์ของกองทัพ และยังเน้นให้มีการโภชนาการที่ดีแก่ทหาร ซึ่งทำให้พวกเขาได้รับอาหารที่เหมาะสมเป็นครั้งแรก”
การนำเสนอข้อมูลสถิติของไนติงเกลในรูปแบบแผนภาพได้พิสูจน์ให้เห็นว่าหนึ่งภาพมีค่าเป็นพันชีวิต