เราอาศัยอยู่ในโลกแห่งการเคลื่อนที่
การเปลี่ยนแปลงทุกอย่างที่มีการเคลื่อนที่ ล้วนเกิดขึ้นเพราะแรง
แรง เป็นการผลักหรือการดึง และมันมีทั้งขนาดและทิศทาง
แรง ไม่ได้แค่ทำให้วัตถุเกิดการเคลื่อนที่เท่านั้น หากแต่ยังทำให้พวกมันหยุดได้อีกด้วย
บนโลกนี้มีแรงมากมายหลายชนิดเช่น แรงดึงดูด และแรงเสียดทานที่จะทำให้วัตถุหยุดการเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว
ในอวกาศซึ่งเป็นสุญญากาศ ไม่มีแรงเสียดทานจากอากาศ วัตถุจะเคลื่อนที่ไปได้เรื่อยๆตลอดกาล
นี่เป็นเหตุผลว่า ยานสำรวจอวกาศและดาวเทียมต้องการเชื้อเพลิงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ในปี ค.ศ.1687 เซอร์ ไอแซค นิวตัน ได้ตีพิมพ์กฎการเคลื่อนที่ของเขา ซึ่งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรงต่างๆ ที่กระทำต่อวัตถุ และทำให้วัตถุชิ้นนั้นเคลื่อนที่ไปได้อย่างไร
กฎข้อที่หนึ่งของนิวตันกล่าวว่า วัตถุจะคงสภาพในสถานะหยุดนิ่ง หรือเคลื่อนที่ไปอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งมีแรงภายนอกมากระทำต่อมัน
กฎข้อที่สองของนิวตันบอกวิธีในการคำนวณหาแรงนั้นได้
แรง มีค่าเท่ากับมวลของวัตถุ คูณด้วยความเร่งที่มันกำลังเป็นอยู่
ซึ่งนี่จะเป็นผลรวมของแรงทั้งหมดที่กระทำต่อวัตถุชิ้นหนึ่ง often called the resultant force.
กฎข้อที่สามของนิวตันกล่าวว่า ไม่มีแรงใดเกิดขึ้นได้ด้วยตัวของมันเอง
สำหรับทุกๆ แรงผลักที่เกิดขึ้นในทิศทางหนึ่ง จะมีแรงผลักที่เท่ากันเกิดขึ้นในทิศทางที่ตรงกันข้าม
นี่เองเป็นเหตุผลว่า ทำไมคุณจะต้องเอาเท้าจิกยันกับพื้น เมื่อออกแรงดึงของที่หนักมากๆ...
ด้วยการเอาเท้าจิกพื้น คุณได้รวมตัวเองเข้ากับมวลของโลก ...
Please log in to view and download the complete transcript.