รถไฟหัวกระสุน ชินคันเซน
ในประเทศญี่ปุ่น รถไฟหัวกระสุนชินคันเซนวิ่งเชื่อมต่อระหว่างเมือง
ความเร็วสูงสุด 443 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
แม้ว่าจะสร้างรถไฟที่มีความเร็ว และความสะดวกสบายแค่ไหน รถไฟที่ทันสมัยเหล่านี้ก็ยังหนีไม่พ้นอิทธิพลของแรงเสียดทาน
เนื่องจากรถไฟถูกทำให้เคลื่อนที่ไปด้านหน้า ล้อของมันจะต้องผลักรางรถไฟในทิศตรงกันข้าม
ความเสียดทาน:แรงต้าน ระหว่างพื้นผิวที่เคลี่อนที่ด้วยความเร็วต่างๆ ต้านการเคลื่อนที่
รถไฟจะต้องต่อสู้อยู่กับแรงเสียดทานอยู่เสมอ
เพื่อที่จะไปได้เร็วขึ้น คุณจำเป็นต้องเอาชนะแรงโน้มถ่วง
รถไฟแมกเลฟเชียงไฮ้
ในประเทศจีน รถไฟแมกเลฟถูกทำให้ลอยขึ้นเหนือรางประมาณ 1 เซนติเมตร โดยใช้แม่เหล็ก
สนามแม่เหล็กไฟฟ้ากำลังสูง ถูกสร้างระหว่างแม่เหล็กใต้ท้องรถไฟ และภายในรางรถไฟ
ระบบแมกเลฟนี้ไม่ได้ใช้การผลักกันของแม่เหล็กเพื่อยกให้ตัวรถไฟลอยขึ้น เนื่องจากมันอาจทำให้การทรงตัวของตัวรถไม่เสถียร
ในทางตรงข้าม แม่เหล็กจะดูดกันและกัน ทำให้รถไฟลอยตัวอยู่ในอากาศ
ตัวกำเนิดแม่เหล็กไฟฟ้าที่อยู่ภายในรางรถไฟจะเปลี่ยนขั้วไปมามันดึงและผลักแม่เหล็กที่ตัวรถไฟสลับกันไป
การดึงและผลักนี้จะทำให้รถไฟเคลื่อนที่ไปข้างหน้า
เนื่องจากไม่มีแรงเสียดทานกับราง รถไฟชนิดนี้สามารถเคลื่อนที่ได้ความเร็วสูงกว่ารถไฟหัวกระสุนทั่วไป
ความเร็วสูงสุด 581 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เร็วกว่ารถไฟหัวกระสุนถึง 138 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
มีเพียงความต้านทางของอากาศเท่านั้นที่จะกำหนดความเร็วสูงสุด และเนื่องจากไม่มีเครื่องยนต์บนตัวรถไฟ เสียงที่เกิดขึ้นจึงมีเพียงแค่เสียงที่เกิดจากแรงต้านอากาศขณะที่รถไฟแล่นผ่านไป
มันเหมือนการร่อนอย่างสง่างามโดยใช้แม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งได้ทิ้งห่างการเคลื่อนที่เชิงกลแบบเดิมจนยากที่จะตามทัน
Please log in to view and download the complete transcript.