โอริกามิ เป็นวิจิตรศิลป์ที่ต้องอาศัยความอดทน จินตนาการ และความทุ่มเท
การพับกระดาษเพื่อสร้างงานประติมากรรมที่ละเอียดซับซ้อนดังกล่าวมีต้นกำเนิดที่ญี่ปุ่น และต่อมาได้กลายเป็นงานศิลปะที่ได้รับความนิยม
ถึงแม้ว่าความสวยงามของมันเกิดจากรูปทรงทางเรขาคณิต โอริกามิยังสามารถใช้ตอบคำถามทางคณิตศาสตร์ที่ดูเหมือนว่าจะหาคำตอบไม่ได้อีกด้วย
สัจพจน์ของยูคลิด
ในสมัยกรีกโบราณ นักคณิตศาสตร์นามว่ายูคลิด ได้เสนอชุดของข้อสมมติ หรือ ‘สัจพจน์’ ที่ทำให้เขาสามารถพิสูจน์ผลลัพธ์ทางเรขาคณิตที่ซับซ้อนมากมาย โดยใช้เพียงแค่เส้นขอบตรงและวงเวียน
บทพิสูจน์เหล่านั้นได้กลายมาเป็นรากฐานของเรขาคณิตสมัยใหม่
แต่ทว่า แม้แต่ยูคลิดเองก็ไม่สามารถแก้ปัญหาพื้นฐานสองปัญหา โดยใช้เทคนิคของเขาเองได้
ถึงแม้ว่าเขาจะสามารถแบ่งมุมหนึ่งมุมเป็นสองมุมเท่าๆ กันได้ แต่เขาก็ไม่สามารถหาวิธีแบ่งมุมหนึ่งมุมให้เป็นสามมุมเท่าๆ กัน
และเขาก็ไม่สามารถหาวิธีที่จะทำให้ปริมาตรของลูกบาศก์เพิ่มเป็นสองเท่าได้
ในศตวรรษที่ 20 บทพิสูจน์ทางเรขาคณิตของปัญหาสองข้อนี้มาจากสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิด
โอริกามิ
ในปี ค.ศ.1936 นักคณิตศาสตร์หญิงชาวอิตาเลียนนามว่า มาเกอริตา พี เบอลอค ได้ค้นพบคำตอบของปัญหาดังกล่าว โดยใช้คณิตศาสตร์ของการพับกระดาษ!
เธอได้พบวิธีการแบ่งมุมเป็นสามส่วนเท่าๆ กัน...
และอัตราส่วนทางเรขาคณิตที่จำเป็นต้องใช้ ในการทำให้ปริมาตรของลูกบาศก์เพิ่มเป็นสองเท่า
ต่อมา การค้นพบของเธอได้ถูกนำไปแปลงโดยนักคณิตศาสตร์คนอื่นๆ ให้กลายเป็นสัจพจน์ชุดใหม่ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากหลักการของโอริกามิ
การแสดงให้เห็นว่าโอริกามิสามารถนำไปใช้ในการคำนวณมุมและปริมาตร ได้นำไปสู่การประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ ทางวิศวกรรมสมัยใหม่
นับตั้งแต่การก่อสร้างและการปล่อยถุงลมนิรภัย
ไปจนถึงการทดสอบหุ่นยนต์!