ในการแข่งขันสัตตกรีฑา นักกีฬาจะต้องแข่งกีฬาด้วยกันทั้งหมด 7 ประเภทได้แก่ วิ่ง กระโดดสูง ขว้าง...
แต่การให้คะแนนยังทดสอบความสามารถทางคณิตศาสตร์ของพวกเขาได้อีกด้วย!
การเปรียบเทียบการวัด
เนื่องจากสัตตกรีฑามีการแข่งกรีฑาในหลายประเภท ทำให้เปรียบเทียบความสามารถของนักกรีฑาแต่ละคนในภาพรวมได้ยาก
ตัวอย่างเช่น ในการแข่งวิ่ง นักกรีฑาต้องการใช้เวลาน้อยๆ
แต่ในการพุ่งแหลน พวกเขาต้องการให้มีระยะทางมากที่สุดเท่าที่จะมากได้
และในขณะที่การกระโดดสูงวัดเป็นเซนติเมตร แต่ในการทุ่มน้ำหนัก ระยะทางจะถูกวัดเป็นเมตร และการวิ่งข้ามรั้วจะใช้หน่วยเป็นวินาที!
การแข่งสัตตกรีฑา ใช้คณิตศาสตร์มาช่วยในการแก้ปัญหา การเปรียบเทียบที่ไม่เหมือนกันเหล่านี้
สมการคำนวณแต้ม สำหรับสัตตกรีฑา
ระบบการให้คะแนนแบบแต้มมาตรฐาน ใช้พีชคณิตในการเปรียบเทียบเวลากับ ระยะทางและปรับผลที่ได้ให้เท่าเทียมกัน
ในการแข่งขันแต่ละประเภท จะมีสมการการให้คะแนนของมันเอง เพื่อที่จะหาแต้มที่ได้ของนักกรีฑา โดยสมการที่ใช้จะขึ้นกับว่าตัวแปรที่ถูกวัดคืออะไร
สำหรับการแข่งประเภทวิ่ง T คือเวลาที่นักกรีฑาทำได้ วัดเป็นวินาที
สำหรับการแข่งประเภทกระโดด M คือ ระยะทางที่ได้ วัดเป็นเซนติเมตร
และ สำหรับการแข่งประเภทขว้าง D คือระยะทางที่ได้ วัดเป็นเมตร
และเพื่อให้สมการสมบูรณ์ และสามารถที่จะจัดอันดับของนักกรีฑาได้ a, b และ c จะเป็นค่าคงที่สำหรับการแข่งในแต่ละประเภท
สมการเหล่านี้ทำให้มั่นใจได้ว่า แต้มที่คำนวณได้สามารถใช้เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงมาตรฐานในการแข่งได้ด้วย ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ตัวเลขที่มากหรือน้อย
ตัวชี้วัดมาตรฐาน
คะแนนวัดมาตรฐานเหล่านี้ จะช่วยให้นักกรีฑารู้ได้ว่า ควรจะต้องตั้งเป้าไว้ที่เท่าใด
สมการจะช่วยให้นักกีฬารู้ว่าจะต้องทำเวลาหรือระยะทางให้ได้เท่าใด เพื่อให้ได้คะแนน 1,000 แต้ม ในแต่ละประเภทของการแข่ง
เช่น ถ้านักสัตตกรีฑาวิ่งหนึ่งร้อยเมตรได้ภายใน 13.85 วินาที ซึ่งเมื่อเอาไปแทนในสมการสำหรับการแข่งวิ่ง จะได้แต้มเท่ากับ 1,000 แต้มพอดี ซึ่งหมายความว่าทำเวลาได้ดีมากเทียบได้กับสถิติระดับโลก
หรือนักสัตตกรีฑาอีกคน สามารถกระโดดไกลได้ 648 เซนติเมตร ซึ่งก็จะเทียบเท่ากับ1,000 แต้มเช่นกัน
ในระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ นักสัตตกรีฑาได้พัฒนาตัวเองขึ้นมาก และสถิติโลกที่ระดับ 7,000 แต้มก็ได้ถูกทำลายลงในที่สุด
ซึ่งนำไปสู่การตั้งข้อสังเกตว่า เราอาจต้องสร้างตัวชี้วัดมาตรฐานตัวใหม่กันอีกครั้ง