การบันทึกเหตุการณ์ผ่านภาพยนตร์ ไม่เพียงช่วยให้เราย้อนกลับไปดูเหตุการณ์นั้นซ้ำๆ ได้ แต่ยังสามารถเปลี่ยนความเร็วเพื่อเพิ่มประสบการณ์การรับชมได้
ภาพต่อวินาที
ในโลกของพืช ภาพเคลื่อนไหวช้าแสดงให้เห็นว่าลมพัดพาเมล็ดพันธุ์ไปได้อย่างไร
ส่วนภาพที่เคลื่อนไหวเร็ว ก็สามารถแสดงภาพดอกไม้บานในเวลาเพียงไม่กี่วินาที
ภาพที่เห็นว่ากำลังเคลื่อนไหวนั้น แท้จริงแล้วประกอบไปด้วยภาพนิ่งหลายๆ ภาพ
เมื่อฉายภาพติดต่อกัน สมองของเราจะเข้าใจว่ามีการเคลื่อนไหว
โดยปกติแล้วการเคลื่อนไหวจะดูเป็นธรรมชาติ เมื่อบันทึกด้วยอัตรา 25 ภาพต่อวินาที และรับชมด้วยอัตราเดียวกันนี้
หากเปลี่ยนจำนวนภาพที่บันทึก แต่ยังฉายที่ 25 ภาพต่อวินาที จะสามารถเพิ่มหรือลดอัตราเร็วของฟิล์มภาพยนตร์ได้
ดังนั้น อัตราเร็ว ก็คือ สัดส่วนผกผันกับจำนวนภาพที่บันทึกต่อวินาที
สัดส่วนผกผัน:
A เพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกันกับ B ลดลง
A 1/B
ภาพเคลื่อนไหวช้า
อัตราเร็วลดลง เมื่อจำนวนภาพต่อวินาทีเพิ่มขึ้น และเป็นจริงในทางกลับกัน
เพื่อที่จะได้ฟิล์มภาพยนตร์ที่อัตราเร็ว 1 ใน 10 ความเร็วถูกคูณด้วย 1 ใน 10
และเนื่องจากความเร็วเป็นสัดส่วนผกผันของจำนวนภาพต่อวินาที จำนวนภาพต่อวินาทีต้องถูกหารด้วย 1 ส่วน 10
การหารด้วยเศษส่วน ก็คือ การคูณด้วย เศษส่วนที่สลับ เลขส่วนและเลขเศษ
ภาพเคลื่อนไหวช้า สามารถจับรายละเอียดที่น่าสนใจ ซึ่งโดยปกติแล้วจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
อัตราเร็วเพิ่มขึ้น
ในอีกด้านหนึ่ง การเพิ่มอัตราเร็วของฟิล์มภาพยนตร์ สามารถแสดงช่วงเวลาที่ยาวนาน ให้ผ่านไปอย่างรวดเร็ว
ซึ่งทำได้โดยการลดจำนวนภาพต่อวินาที
หากต้องการได้ความเร็ว 1000% เราต้องคูณอัตราเร็วด้วย 10
เพราะฉะนั้น จำนวนภาพต่อวินาทีต้องถูกหารด้วย 10
เราก็จะต้องบันทึกเพียง 2.5 ภาพต่อวินาทีเท่านั้น
ไม่เพียงแต่เหตุการณ์ที่กินเวลาเป็นนาที หรือ ชั่วโมงเท่านั้น แต่เราสามารถรับชมการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ภายในไม่กี่วินาทีได้