ก่อนยุคของธนาคาร ผู้คนเก็บความมั่งคั่งของตนไว้ในทองคำ
แต่เมื่อเริ่มมีธนาคาร พวกเขาก็ยังทำเช่นเดิมอยู่
ฟิลลิป ชอว์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ บริษัทอินเวสเทค –“ธนาคารกลาง มักเก็บทองคำไว้เป็นทุนสำรอง เพราะประเพณีที่สืบต่อกันมาเกี่ยวกับทองคำและมูลค่าของมัน”
แต่ปัจจุบัน ธนาคารไม่ได้อาศัยเพียงการสำรองทองคำในการดำเนินกิจการ พวกเขาใช้เงินของพวกเราด้วย
เมื่อเราฝากเงินไว้ที่ธนาคาร ธนาคารไม่ได้เก็บไว้เปล่าๆ
พวกเขาจะปล่อยกู้
มีอยู่ช่วงหนึ่ง ธนาคารปล่อยเงินกู้มากเท่ามูลค่าทองคำที่ธนาคารสำรองไว้
แต่ในปัจจุบัน ธนาคารสามารถให้กู้ได้มากกว่ามูลค่าที่ได้สำรองไว้มาก
ปริมาณทุนสำรองที่ธนาคารต้องมี ขึ้นอยู่กับขนาดของธนาคาร
ในสหรัฐอเมริกา ธนาคารที่มีเงินฝากไม่เกิน 71 ล้านดอลลาร์ ต้องสำรองไว้ 3%
ธนาคารขนาดเล็กเหล่านี้ จำเป็นต้องสำรองไว้สองล้านดอลลาร์กว่าๆ
นั่นคือ อัตราทุนสำรองที่สามดอลลาร์ต่อเงินฝากหนึ่งร้อยดอลลาร์
แต่หากธนาคารมีเงินฝากมากกว่า 71 ล้านดอลลาร์ ต้องสำรองไว้ 10%
ดังนั้น ธนาคารที่มีเงินฝาก 200 ล้านดอลลาร์ ต้องสำรองเป็นเงินสด 1 ต่อ 10 หรือ 20 ล้านดอลลาร์
ระบบธนาคารที่มีเงินสำรองบางส่วน
เราเรียกว่า ระบบธนาคารที่มีเงินสำรองบางส่วน
ระบบนี้ช่วยเพิ่มปริมาณเงินในระบบหมุนเวียน ซึ่งดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ
แต่ทว่า ระบบที่มีเงินสำรองบางส่วน ก็มีจุดบกพร่อง
หากคุณต้องการถอนเงิน ธนาคารอาจไม่มีให้
ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ลูกค้าส่วนใหญ่อาจต้องการถอนเงินออกมาพร้อมกัน อย่างที่เคยเกิดขึ้นแล้วกับธนาคารอังกฤษ นอร์ธเทิร์น ร็อค ในปี ค.ศ.2007
สหราชอาณาจักร ค.ศ.2007
เมื่อธนาคารสำรองไว้เพียงบางส่วนของเงินฝาก ความต้องการอาจมากเกินปริมาณสำรองที่มีได้
อย่างแย่ที่สุด ธนาคารอาจล้มละลาย และผู้ฝากอาจสูญเสียเงินของพวกเขา
นี่คือเห็นผลว่า ทำไมบางคนยังคงเลือกที่จะให้ความไว้วางใจกับทองคำมากกว่า
Sandra Conway, Managing Director, ATS Bullion – “มันเก็บมูลค่าไว้ได้จริง ตลอดหลายปีที่ผ่านมา และฉันคิดว่าคนก็เริ่มตระหนักแล้วว่า เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ธนาคารอาจไม่ได้มีเงินที่พวกเขาฝากไว้จริงๆ”