การเก็บข้อมูลดีเอ็นเอเป็นการปฏิวัติเทคนิคการแก้ปัญหาอาชญากรรม โดยใช้นิติวิทยาศาสตร์ในการเชื่อมโยงบุคคลไปสู่คดีอาชญากรรม
หลังจากถูกพัฒนาขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเลสเตอร์ในปีค.ศ.1984 การเก็บข้อมูลดีเอ็นเอถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในสหราชอาณาจักร เพื่อใช้ในการพิสูจน์การฆาตกรรม 2 ศพ โดยชายคนหนึ่ง 1 ปีก่อนหน้านั้น
มหาวิทยาลัยเลสเตอร์ ปี ค.ศ.1984
เซอร์อเล็ค เจฟฟรีย์ มหาวิทยาลัยเลสเตอร์ สหราชอาณาจักร–“นี่คือรูปแบบที่มากมายมหาศาลอย่างไม่น่าเชื่อของดีเอ็นเอ และในขณะที่กำลังดูลักษณะแบบแผนของมันอยู่นั้น ผมก็ตระหนักว่ามันไม่ได้เป็นแค่ลวดลายที่แตกต่างกันเท่านั้น แต่มันคือลายนิ้วมือของดีเอ็นเอ”
กระบวนการหาโปรไฟล์ดีเอ็นเอนี้เรียกว่า อาร์เอฟแอลพี ซึ่งเริ่มต้นจากการเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอของคนร้าย
RFLP = Restriction Fragment Length Polymorphism
ในกรณีนี้คือน้ำอสุจิที่พบในที่เกิดเหตุทั้งสองคดี
ดีเอ็นเอสามารถสกัดได้จาก:สารคัดหลั่งจากร่างกาย เช่น น้ำอสุจิหรือน้ำลาย เม็ดเลือดขาว
เซลล์รากผมหรือตัวอย่างเนื้อเยื่อ
ในขณะที่โมเลกุลดีเอ็นเอสายยาวส่วนใหญ่จะเหมือนกันทุกคน แต่จะมีส่วนเล็กๆ ของโมเลกุลที่เป็นเอกลักษณ์ของคนคนหนึ่ง และอาจมีความยาวที่แตกต่างกันในแต่ละคน
นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้เอนไซม์ในการตัดตัวอย่างดีเอ็นเอที่ตำแหน่งที่เฉพาะเจาะจงนี้
เนื่องจากลำดับเหล่านี้เกิดขึ้นในตำแหน่งดีเอ็นเอที่แตกต่างกันในแต่ละคน ทำให้ได้ชิ้นส่วนดีเอ็นเอที่มีความยาวแตกต่างกันไป
ดีเอ็นเอที่ตัดออกมานี้จะถูกนำไปใส่ในเจล ซึ่งสนามไฟฟ้าจะดึงให้ดีเอ็นเอไหลผ่านเจล
รูปแบบของแถบดีเอ็นเอที่เกิดขึ้นจะแสดงรูปแบบพันธุกรรมที่เฉพาะเจาะจงของอาชญากรซึ่งถือเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ในทางนิติวิทยาศาสตร์
การวิเคราะห์อาร์เอฟแอลพี: ดีเอ็นเอจากที่เกิดเหตุเปรียบเทียบกับดีเอ็นเอของผู้ต้องสงสัย
Please log in to view and download the complete transcript.