นับตั้งแต่ทศวรรษ 1950 นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาเทคนิคต่างๆ เพื่อใช้ศึกษาว่าดีเอ็นเอทำให้เราแตกต่างกันได้อย่างไร…
ผลพลอยได้จากการศึกษาดีเอ็นเอ คือการพัฒนาเครื่องมือสำคัญที่สามารถนำมาใช้ในการสืบสวนอาชญากรรมสมัยใหม่
ดีเอ็นเอเป็นสารพันธุกรรมของเซลล์ และถือเป็นพิมพ์เขียวของสิ่งมีชีวิต
ดีเอ็นเอของมนุษย์ประกอบด้วยประมาณ 3 พันล้านคู่ฐาน และกว่า 99% ของมันเหมือนกันในมนุษย์แต่ละคน
แต่ความต่างเพียงแค่ 1% ของคู่ฐานนี้เอง ที่ทำให้แต่ละบุคคลมีดีเอ็นเอที่แตกต่างกัน ยกเว้นแฝดแท้
หลักฐานดีเอ็นเอที่เก็บได้จากสถานที่เกิดเหตุ สามารถเชื่อมโยงไปยังผู้ต้องสงสัย หรือตัดเขาออกจากการการสืบสวนได้
ในทศวรรษที่ 1960 เทคนิคการทำประวัติดีเอ็นเอ จำเป็นต้องใช้ตัวอย่างปริมาณมาก และสามารถพิสูจน์ได้แค่หมู่เลือดเท่านั้น
มีอาชญากรรมเพียงไม่กี่กรณีที่สามารถให้ปริมาณเลือดหรือตัวอย่างเนื้อเยื่อที่เพียงพอได้ และการจำแนกได้เพียง 4 หมู่เลือด ทำให้การใช้เทคนิคนี้ในช่วงแรกๆ ไม่สามารถลดจำนวนผู้ต้องสงสัยลงได้
ต่อมาในปีค.ศ.1984 เทคนิคที่เรียกว่า อาร์เอฟแอลพี ได้ถูกพัฒนาขึ้น ซึ่งถูกขนานนามว่า ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ
เทคนิคอาร์เอฟแอลพี ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ
ในปีค.ศ.1987 ดีเอ็นเอได้ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในการเชื่อมตัวบุคคลกับสถานที่เกิดเหตุ
นักวิทยาศาสตร์ยังคงต้องใช้ตัวอย่างดีเอ็นเอจำนวนมาก บ่อยครั้งจึงจำเป็นต้องใช้ตัวอย่างเลือด
ไม่นานต่อมา ได้เกิดเทคนิคใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการต่อสู้กับอาชญากรรม และมีการจัดทำฐานข้อมูลดีเอ็นเอขนาดใหญ่ขึ้นทั่วโลกเพื่อใช้จับอาชญากร
...Please log in to view and download the complete transcript.