ในศตวรรษที่ 20 ผลงานอันลือเลื่องของชายคนหนึ่งได้เปลี่ยนวิชาคณิตศาสตร์ให้เป็นกีฬาสังสรรค์
พอล แอร์ดิช
ปี ค.ศ.1913–1996
พอล แอร์ดิช ชาวฮังกาเรียน เป็นนักคณิตศาสตร์พเนจร
เขาเดินทางรอบโลก ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ทำงานเพื่อแลกกับที่พักและอาหารจากนายจ้าง
นี่ทำให้เขามีอิสระที่จะทำงานกับใคร ที่ไหนก็ได้ และแก้ปัญหาลักษณะไหนก็ได้
ด้วยเหตุนี้ แอร์ดิชจึงได้ร่วมงานกับผู้เขียนมากกว่าห้าร้อยคน จากงานเขียนหนึ่งพันห้าร้อยชิ้น
ในจำนวนนั้น แอร์ดิช สร้างผลงานเกี่ยวกับทฤษฏีตัวเลข ทฤษฏีกราฟ ทฤษฎีเซ็ต และทฤษฏีความน่าจะเป็น
เขากลายเป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีผลงานตีพิมพ์มากที่สุดในประวัติศาสตร์
ลำดับผู้ร่วมงานกับแอร์ดิช
แอร์ดิชทำงานกับผู้เขียนหลายคนมาก จนทำให้เพื่อนๆ ของเขาตั้งเป็นหลักการที่ชื่อว่า‘ตัวเลขของแอร์ดิช’ขึ้นมา
จำนวนเหล่านี้เป็นตัวที่ระบุความใกล้ชิดในการได้ร่วมงานกับแอร์ดิช
ใครที่เคยเขียนผลงานร่วมกับแอร์ดิชโดยตรงจะถูกจัดลำดับเป็นผู้ร่วมงานลำดับหนึ่ง
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
นักฟิสิกส์
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นผู้ร่วมงานลำดับสอง…
เพราะเขาร่วมเขียนผลงานกับผู้ที่เคยเขียนงานกับแอร์ดิช
สตีเฟน ฮอว์คิง
นักจักรวาลวิทยา
ศาสตราจารย์สตีเฟน ฮอว์คิง นักจักรวาลวิทยาที่มีชื่อเสียง เป็นผู้ร่วมงานลำดับสี่
เพราะเขาทำงานกับนักเขียนคนหนึ่ง ที่เคยทำงานกับใครอีกคน ที่เคยทำงานกับอีกคน ที่ทำงานกับแอร์ดิช
ถ้าคุณไม่เคยเขียนงานทางคณิตศาสตร์เลย ค่าลำดับผู้ร่วมงานของแอร์ดิชจะเป็นอนันต์
แอร์ดิชได้รับการขนานนามว่าเป็น นักไขปัญหาคณิตศาสตร์ชั้นนำ
เขาส่งเสริมให้มีการบุกเบิกคณิตศาสตร์แขนงใหม่ๆ และทำงานกับนักคณิตศาสตร์ที่ดีที่สุดในโลก
นี่ทำให้ลำดับที่ของผู้ร่วมงานกับแอร์ดิชกลายเป็นตัววัดเล่นๆ ถึงความเชี่ยวชาญทางคณิตศาสตร์
นักคณิตศาสตร์สมัยนี้จึงพยายามแข่งกันที่จะให้ลำดับที่ของการร่วมงานกับแอร์ดิชลดลง เพื่อให้ลำดับดังกล่าวใกล้กับศูนย์ ซึ่งหมายถึงเป็นแอร์ดิชนั่นเอง