ในปี ค.ศ.1971 เป็นครั้งที่สามเราได้เห็นการลงจอดบนดวงจันทร์...
และแฟชั่นอันน่าหลงใหลบางอย่าง
บวกด้วยของเล่นชิ้นใหม่ที่กระโจนเข้ามาในชีวิตของเรา
ทั้งยังได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่น่าท้าทายอีกด้วยในระบบเงินตราของสหราชอาณาจักร
วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1971 เป็นวันเลขฐานสิบ ซึ่งเป็นวันที่สหราชอาณาจักรได้เปลี่ยนไปใช้ระบบเงินฐานสิบ
วันเลขฐานสิบ
การเปลี่ยนจากระบบเก่าที่ใช้ปอนด์ ชิลลิงและเพนนีนั้นเป็นการปรับตัวครั้งใหญ่ และหลายคนกลัวว่าพวกเขาจะไม่เข้าใจระบบฐานสิบอันใหม่นี้
“เป็นเรื่องที่แย่”
“ทำไม?”
“คุณต้องฉลาดมากเลยนะคะ ถึงจะเข้าใจมันได้”
“นี่ ถ้าคุณเห็นเหรียญนี้ในเงินทอน มันมีค่าหนึ่งชิลลิง”
“ก็... คิดมาเลยก็ได้ว่าราคาที่ฉันต้องจ่ายเป็นเท่าไหร่ ฉันจ่าย แล้วก็ทอนให้ถูกต้องก็แล้วกันค่ะ”
“นี่มีค่าเท่ากับสองชิลลิง”
“มันก็ไม่ได้เลวร้ายขนาดนั้น ถ้าฉันสับสน ฉันก็คงให้เหรียญสองชิลลิงไปก่อน แล้วค่อยดูว่าเป็นอย่างไร”
“ฉันคิดว่าคนพวกนี้ยังไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างระบบเก่ากับระบบใหม่”
ก่อนหน้าการแปลงเป็นระบบฐานสิบ ยี่สิบชิลลิงเท่ากับหนึ่งปอนด์
หนึ่งชิลลิงเท่ากับสิบสองเพนนี
และหนึ่งเพนนีถูกแบ่งย่อยเป็นเหรียญครึ่งเพนนีสองเหรียญ
นั่นหมายความว่าการแปลงเงินปอนด์เป็นหน่วยย่อยอื่นจำเป็นต้องคูณแยกกันหลายครั้ง
นี่เป็นเรื่องน่าปวดหัวในยุคสมัยที่ยังไม่มีเครื่องคิดเลขอิเล็กทรอนิกส์และโปรแกรมต่างๆ
ระบบเลขฐานสิบ
ระบบเงินตราถูกเปลี่ยนอย่างถาวรมาใช้เลขฐานสิบ ซึ่งใช้เลขสิบเป็นฐาน
ค่าประจำหลัก
ตัวเลขจะมีค่าจำเพาะเรียกว่าค่าประจำหลัก ซึ่งขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ตัวเลขปรากฏเทียบกับจุดทศนิยม
เช่น หลักหน่วย
ค่าที่มีมากขึ้น ดังเช่น หลักร้อย
หรือค่าที่มีขนาดน้อยลง เช่น หนึ่งส่วนพัน
ด้วยระบบฐานสิบ หากคุณย้ายตัวเลขไปทางซ้ายหนึ่งตำแหน่งมันจะมีค่ามากขึ้นสิบเท่า
หากคุณย้ายมันไปทางขวาสองตำแหน่ง มันจะมีค่าลดลงหนึ่งร้อยเท่า
ระบบเงินตราใหม่ของสหราชอาณาจักรประกอบไปด้วยหนึ่งร้อยเพนนีในหนึ่งปอนด์ นั่นหมายความว่าการบวกอย่างง่ายๆ ก็เพียงพอสำหรับแปลงเงินปอนด์เป็นเพนนี
ระบบนี้ช่วยให้เข้าใจเรื่องเงินดียิ่งขึ้น และปัจจุบัน ประเทศส่วนใหญ่ในโลกก็ใช้ระบบเงินเลขฐานสิบ
หลายสิ่งได้เปลี่ยนแปลงในปี ค.ศ.1971…
แต่วันของเลขฐานสิบ เป็นวันแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมเพื่อสิ่งที่ดีกว่า