ศูนย์อวกาศจอห์น เอฟ เคนเนดี
21 ธันวาคม ค.ศ.1968
ในวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ.1968 กระสวยอวกาศอะพอลโล 8 ได้ทะยานขึ้นจากโลก
มันเป็นการเดินทางด้วยยานอวกาศที่มีคนไปด้วยเป็นครั้งแรก โดยพยายามที่จะออกจากวงโคจรของโลกไปสู่ดวงจันทร์
เพื่อให้ไปถึงที่นั่น ยานกระสวยต้องอาศัยแรงขับเคลื่อนจากจรวดแซทเทิร์น 5 ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ที่มีพละกำลังมากที่สุดที่เคยสร้างมา
พลังงานขับเคลื่อนจรวด
แซทเทิร์น 5 จำเป็นต้องบรรทุกเชื้อเพลิงมากกว่าจรวดทุกๆ ลำก่อนหน้านี้ เพื่อที่จะขับเคลื่อนยานให้หลุดออกจากชั้นบรรยากาศโลก
มันเผาผลาญเชื้อเพลิงไปมากกว่า 4,500 ลิตรต่อวินาที และลำเลียงน้ำหนักขึ้นไปได้ ประมาณกว่า 3 ล้าน กิโลกรัม
เท่ากับน้ำหนักของเรือพิฆาตลำหนึ่ง
เจย์ บาร์บรี ผู้สื่อข่าว NBC – “ไม่มีใครพร้อมรับมือกับแซทเทิร์น 5 พวกเราอยู่ห่างออกไปสามไมล์ แต่เชื่อผมเถอะ นั่นมันก็ใกล้มากพอแล้ว คุณคงไม่อยากเข้าไปใกล้กว่านี้แล้ว เพราะว่าทันทีทันใดก็มีเสียงสั่นรัว คล้ายแผ่นดินไหวหรืออะไรบางอย่าง และผมต้องวิ่งออกไปภายนอกเพราะอุปกรณ์ของเราต่างตกลงจากชั้นวาง เสียงตบกระแทก เสียงระเบิดเปรี้ยงคล้ายฟ้าผ่า และทุกๆ อย่าง คุณไม่สามารถเห็นได้บนจอโทรทัศน์ คุณต้องอยู่ที่นั่นถึงจะเข้าใจว่าผมพูดถึงอะไรอยู่”
ถังทรงกระบอกสองถังของแซทเทิร์น 5 เป็นตัวขับเคลื่อนในช่วงเวลาการปล่อยตัว
ถังแรก ประกอบด้วยเครื่องยนต์ 5 เครื่อง สูง 42 เมตร ซึ่งคิดเป็นปริมาตรประมาณ 3,300 ลูกบาศก์เมตร
เชื้อเพลิงจากถังนี้ขับเคลื่อนกระสวย จนถึงความเร็วเจ็ดเท่าของความเร็วเสียง
เชื้อเพลิงจรวด และออกซิเจนเหลวที่บรรจุอยู่ภายใน เพียงพอต่อการขับดันกระสวยออกไป 61 กิโลเมตร ผ่านบรรยากาศชั้นล่างของโลก
เมื่อเชื้อเพลิงถูกใช้จนหมดสิ้น ถังทรงกระบอกขนาดยักษ์นี้จะถูกปล่อยทิ้ง
เมื่อมีภาระน้ำหนักลดลง ถังทรงกระบอกใบที่สองจึงมีขนาดเล็กลง โดยมีความสูง 25 เมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เมตร แต่มันก็ยังคิดเป็นปริมาตรราว 2,000 ลูกบาศก์เมตร
ในขณะที่กระสวยเข้าสู่อวกาศ ถังทรงกระบอกถังที่สองก็ถูกแยกออก
บิลล์ แอนเดอร์ส นักบินอวกาศ ยานอะพอลโล 8 – “มันเสียงดังตูมตาม ผมรู้สึกเหมือนกับว่า ผมถูกเหวี่ยงผ่านแผงหน้าปัด โดยเครื่องเหวี่ยงขีปนาวุธเหล่านี้”
และในขณะที่ถังที่สองพุ่งกลับลงสู่โลก นักบินอวกาศใช้เครื่องยนต์เพิ่มกำลังท่อนแรกของจรวดในการขับเคลื่อนออกจากวงโคจรของโลก และมุ่งหน้าไปยังดวงจันทร์