ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ปริศนาแห่งสีสันได้ท้าทายความสามารถเหล่านักคิดระดับอัจฉริยะมาโดยตลอด
ไอแซค นิวตัน ปี ค.ศ.1666
ในปีค.ศ.1666 ไอแซค นิวตัน ได้ทำการทดลองโดยใช้ลำแสงและแท่งแก้วปริซึมทรงสามเหลี่ยมใส
เขาสังเกตเห็นว่า เมื่อแสงเดินทางผ่านแท่งปริซึม มันจะแยกหรือกระจายแสงออกเป็นลำแสงที่มีสีสันแตกต่างกัน
นิวตันพบว่า แสงสีขาวประกอบขึ้นจากแสงสีต่างๆ ที่เรามองเห็นได้
แต่สิ่งที่ไม่มีใครรู้ในตอนนั้นก็คือ แสงเดินทางแบบคลื่นเช่นเดียวกับเสียง
เมื่อมันตกกระทบตัวกลางชนิดใหม่ คลื่นแสงสามารถที่จะสะท้อนกลับออกมาได้
การสะท้อน
หรืออีกนัยหนึ่ง มันสามารถเปลี่ยนทิศทางได้ ซึ่งรู้จักกันทั่วไปว่า การหักเหของแสง
การหักเห
แสงจะหักเหมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับความยาวคลื่นของแสง ทั้งนี้ เป็นเพราะแสงที่มีความยาวคลื่นต่างกันเดินทางผ่านแท่งแก้วด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน
แสงสีม่วงมีความยาวคลื่นสั้นที่สุดและเดินทางผ่านตัวกลางด้วยความเร็วที่ช้าที่สุด หักเหมากที่สุด ในขณะที่แสงสีแดงมีความยาวคลื่นที่ยาวที่สุด และเดินทางได้เร็วที่สุด หักเหน้อยที่สุด
ดังนั้น สีของแสงที่มองเห็นได้ จึงเกิดขึ้นจากการที่สมองของเรารับรู้ความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน
เมื่อเราเห็นรุ้งกินน้ำ ละอองฝนทำให้แสงที่กำลังเดินทางแยกออกเป็นแถบสีสเปกตรัม เช่นเดียวกับปริซึมของนิวตัน
การดูดซับ
วัสดุที่แตกต่างกัน มีผลต่อแสงแตกต่างกันด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติทางกายภาพของมัน
บ้างก็สะท้อนแสงสีขาวเป็นส่วนใหญ่
บ้างก็ดูดซับแสงได้ดีกว่า
...Please log in to view and download the complete transcript.