การเดินทางข้ามเวลาเป็นไปได้จริงหรือไม่ในทางวิทยาศาสตร์?
เวลาและอวกาศเป็นเหมือนฉากหลังของเวทีให้จักรวาลของเราดำรงอยู่ได้ในทุกวันนี้
อวกาศแผ่ขยายออกไปในสามมิติ ทำให้เราเคลื่อนที่ได้ในทุกทิศทุกทาง
แต่เวลายังคงดำเนินไปเป็นเส้นตรง ราวกับว่าการเคลื่อนที่ในมิติของกาลเวลา ถูกจำกัดด้วยจังหวะการเดินของเข็มนาฬิกา
หรือการเดินทางข้ามเวลาเป็นเพียงแค่นิยายวิทยาศาสตร์?
แม้ว่าวิทยาศาสตร์ของเรื่องนี้จะยังอยู่ในขั้นของทฤษฎี แต่กฎทางฟิสิกส์ก็มิได้ขัดขวางหลักการของการเดินทางข้ามเวลา
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ปี ค.ศ.1930
ไอน์สไตน์อ้างว่า ยิ่งวัตถุเคลื่อนที่เร็วขึ้นเท่าไหร่ เวลาของมันจะเดินช้าลงเท่านั้น
นั่นหมายความว่าตามทฤษฎีแล้ว ยานอวกาศที่สามารถเดินทางออกจากโลกด้วยอัตราเร็วสูงมากๆ ในอวกาศ จะรู้สึกว่าเวลาผ่านไปด้วยอัตราช้าลง
เมื่อยานอวกาศกลับมายังโลก และเปรียบเทียบกัน เวลาบนโลกจะผ่านไปเร็วกว่า
ในขณะที่เวลาบนยานอวกาศผ่านไปเพียงสองวัน เวลาบนโลกอาจจะผ่านไปแล้วถึงสองปี ดังนั้นยานอวกาศจึงข้ามเวลาไปสู่อนาคตอย่างแท้จริง
แต่อัตราเร็วซึ่ง “มากพอ” ที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ มีค่าใกล้เคียงมากกับความเร็วแสง
เพื่อจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพ ยานอวกาศที่เคลื่อนที่ได้เร็วที่สุดที่มนุษย์สร้างขึ้นมานั้นมีชื่อว่า เฮลิออส 2 ซึ่งไม่มีวัตถุไหนเทียบเคียงได้
ความเร็วแสง = 300,000,000 เมตร/วินาที
ความเร็วของเฮลิออส 2 =17,000 เมตร/วินาที
แต่นั่นก็ยังไม่ใช่ความเร็วที่สามารถเปลี่ยนแปลงเวลาได้
การศึกษาทฤษฎียังบอกอีกว่า ณ ใจกลางของหลุมดำ ...
Please log in to view and download the complete transcript.