กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร
ปี ค.ศ.1912
อลัน แมธิสัน ทัวริง เกิดที่กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ.1912
อลัน ทัวริง
ปี ค.ศ.1912 – 1954
เขาได้รับการอบรมสั่งสอนแบบธรรมดาทั่วไป แต่ทว่าเขาไม่สนใจหลักสูตรการเรียนการสอนปกติของโรงเรียน และใช้เวลากับตรรกศาสตร์ของโลกแห่งการคำนวณ
แรงบันดาลใจสำหรับการทำงานในชีวิตของเขาเกิดจากการสูญเสีย คริสโตเฟอร์ มอร์คอม เพื่อนสนิทของเขาที่เป็นวัณโรคเมื่อปี ค.ศ.1930
สิ่งนี้เป็นพลังกระตุ้นให้ทัวริงเริ่มหลงใหลกับแนวคิดเชิงปรัชญาที่ว่า จิตวิญญาณมนุษย์ยังคงมีอยู่หลังความตาย
เมื่อเขาเป็นผู้ใหญ่ ผลงานของเขาดูจะขัดแย้งกับภูมิหลัง เนื่องจากเขาศึกษาค้นคว้า
ว่าเครื่องจักรจะมีความสามารถในการคิดและเรียนรู้แบบที่มนุษย์คิดตามหลักเหตุผลหรือไม่
เครื่องจักรทัวริงสากล
เพื่อที่จะพิสูจน์ในเรื่องนี้ ทัวริงได้จินตนาการถึงเครื่องจักรที่สามารถแก้ปัญหาต่างๆ โดยใช้ขั้นตอนตามหลักเหตุผล
ดร.แอนดรู ฮอดจ์ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด – “ขณะนั้นเป็นปี ค.ศ.1935 ยังไม่มีเครื่องจักรที่ว่านี้ นี่เป็นเพียงเครื่องจักรในจินตนาการ เครื่องจักรในความคิด แต่เขาทำมันด้วยแนวคิดที่ชัดเจนแจ่มแจ้งและนี่คือแนวคิดของ เครื่องจักรทัวริง (Turing Machine)”
สิ่งประดิษฐ์ทางทฤษฎีอันยิ่งใหญ่ที่สุดของทัวริงหรือ เครื่องจักรทัวริงสากลนี้
มีหลักพื้นฐานอยู่ที่กระบวนการหรือวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนที่เรียกว่า อัลกอริทึม
อัลกอริทึม เริ่มต้นจากการป้อนข้อมูลเข้าไป และควบคุมกระบวนการทำงานอย่างเฉพาะเจาะจง จนได้ผลลัพธ์ออกมาในที่สุด
ในตัวอย่างแนวทฤษฎีของทัวริง ต้องใช้เทปยาวอย่างไม่มีที่สิ้นสุดเพื่อป้อนเข้าไปในเครื่องจักร
กระบวนการที่มีขอบเขตของเครื่องจักรจะสั่งการว่าจะอ่าน เขียนหรือลบตัวเลขหนึ่งหรือตัวเลขศูนย์บนเทปหรือไม่
มันเป็นอัลกอริทึมแบบง่ายๆ
อัลกอริทึม:ชุดคำสั่งที่มีขอบเขตแบบเป็นขั้นตอนที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือการคำนวณข้อมูลเข้าได้ผลลัพธ์เป็นข้อมูลออก
เช่นเดียวกับการประดิษฐ์เครื่องจักรแนวทฤษฎีเหล่านี้ ทัวริงได้พัฒนาบททดสอบอันหนึ่ง เพื่อที่จะแยกแยะว่าเครื่องจักรมีความฉลาดถึงระดับที่เทียบเท่ามนุษย์ได้หรือไม่
แนวคิดของเขาคือว่าผู้ตัดสินที่เป็นมนุษย์จะเข้ามามีส่วนร่วมในบทสนทนาระหว่างคอมพิวเตอร์และมนุษย์
เมื่อผู้ตัดสินไม่สามารถบอกได้ว่าอันไหนเป็นมนุษย์ ก็จะถือเป็นจุดเริ่มต้นของปัญญาประดิษฐ์ที่แท้จริง
คอมพิวเตอร์สมัยใหม่
เครื่องจักรที่ทำงานด้วยอัลกอริทึมตามความฝันของทัวริงนั้นกลายเป็นจริง
อัลกอริทึมได้สร้างรูปแบบพื้นฐานของการเขียนโปรแกรมในทุกวันนี้
หลังจากการตายของทัวริง แม้มีคอมพิวเตอร์หลายตัวถูกทดสอบความฉลาดตามแนวคิดของเขา แต่ก็ยังไม่มีคอมพิวเตอร์ตัวไหนสามารถผ่านบททดสอบไปได้
แม้เขาจะจบชีวิตลงจากการฆ่าตัวตายที่มีเงื่อนงำในขณะที่มีอายุ 41 ปี แต่ตัวเขาเองกลับประสบความสำเร็จในสิ่งที่เขาทำให้กับเพื่อนเขาไม่ได้
เขาได้กลายเป็นตำนานไปแล้ว ในฐานะบิดาผู้ก่อตั้งวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์