https://cdn.twig-world.com/twig/twig/prod/media/images/newsdesk/newsdesk-march9-149596105-mm-e.jpg

การหาตำแหน่งด้วยเสียงสะท้อน: โลมา

เป็นครั้งแรกที่นักวิจัยได้ค้นพบว่ากอริลล่าในป่าร้องเพลงขณะที่พวกเขาทานอาหารการค้นพบครั้งนี้อาจช่วยให้เราเข้าใจถึงวิธีการพัฒนาภาษาของมนุษย์ในช่วงแรก

Eva Luefนักศึกษาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ไม่ใช่มนุษย์ณสถาบันMax Planckเพื่อศึกษาเกี่ยวกับนกได้สังเกตกลุ่มของกอริลล่าในป่าคองโกเธอระบุเสียงที่แตกต่างกันของกอริลล่าขณะรับประทานอาหารได้2ประเภทหนึ่งคือความถี่ต่ำคงที่คล้ายเป็นเสียงฮัมเพลงของความพึงพอใจในขณะที่อีกเสียงหนึ่งเป็นเพลงที่ประกอบด้วยตัวโน๊ตที่จัดเรียงตัวในทวงทำนองแบบหลวมๆ

Luefสังเกตว่าการร้องเพลงเป็นเสียงที่จะได้ยินจากผู้นำเพศผู้ในกลุ่มเท่านั้น ซึ่งอาจเป็นการส่งสัญญาณถึงความพึงพอใจในอาหารเสียงเหล่านี้ยังอาจเป็นการส่งสัญญาณให้กอริลล่าตัวอื่นๆรู้ว่าถึงเวลาอาหารแล้วซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจในลำดับชั้นทางสังคมของกอริลลาที่จ่าฝูงเพศผู้จะเป็นผู้ทำหน้าที่ในการตัดสินใจ

การสื่อสารในระหว่างมื้ออาหารของ ลิงสายพันธุ์ใหญ่อื่นๆเช่นลิงโบโนโบและลิงชิมแปนซีจะแตกต่างออกไปจากกรณีของกอริลล่าบทสนทนาของพวกเขาจะถูกกระจายออกไปอย่างสม่ำเสมอทั่วถึงตลอดทั้งกลุ่มซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความยืดหยุ่นทางโครงสร้างของสังคม นักวิทยาศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าความหลากหลายนี้ทำให้เราเข้าใจถึงแรงกดดันทางสังคมที่เห็นได้จากการสื่อสารและอาจนำไปสู่ต้นกำเนิดของภาษา

เสียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้มากกว่าแค่การสื่อสารจะเห็นได้ว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิดเช่นโลมาใช้เสียงในการนำทางและล่าสัตว์เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้เสียงด้วยภาพยนตร์ทวิกเรื่องการหาตำแหน่งด้วยเสียงสะท้อน:โลมา