เยลโลว์สโตน เป็นหนึ่งในอุทยานแห่งชาติที่มีชื่อเสียงของประเทศสหรัฐอเมริกา
อุทยานแห่งชาติ เยลโลว์สโตน ประเทศสหรัฐอเมริกา
มีนักท่องเที่ยวมากกว่า 3 ล้านคนในแต่ละปี
แต่หลายคนก็ไม่ได้ตระหนักถึงอันตรายร้ายแรงที่อยู่ใต้ฝ่าเท้าของพวกเขาลึกลงไปเพียงไม่กี่กิโลเมตร
อุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน ตั้งอยู่บนภูเขาไฟขนาดมหึมา
อุทยานแห่งนี้เป็นแหล่งน้ำร้อนที่ใหญ่ที่สุดในโลก
น้ำพุร้อน น้ำร้อนที่พุ่งขึ้นมาจากใต้พื้นดิน
กีย์เซอร์ พุน้ำร้อนที่ปล่อยน้ำร้อนและไอน้ำ
โคลนร้อน พุน้ำร้อนที่เป็นกรดและมีน้ำปริมาณจำกัด
แหล่งน้ำร้อนนี้ได้รับพลังงานความร้อนจากภูเขาไฟ
แต่มันอยู่ที่ไหนกันล่ะ?
ภูเขาไฟของเยลโลว์สโตนไม่ได้มีรูปร่างเป็นทรงกรวยแบบทั่วไปอย่างที่คนส่วนใหญ่คิด
ภาพจากดาวเทียมเผยให้เห็นขนาดที่แท้จริงของมัน
ภูเขาไฟขนาดมหึมา ครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดของอุทยาน
ภูเขาไฟ เยลโลว์สโตนมีขนาดกว้าง 55 กิโลเมตร ยาว 72 กิโลเมตร
ภูเขาไฟขนาดมหึมานี้มีพลังงานมากกว่าภูเขาไฟทั่วไปหลายร้อยเท่า
ภูเขาไฟขนาดมหึมา ปล่อยหินหนืดมากกว่า 1,000 ลูกบาศก์เมตร
ภูเขาไฟขนาดมหึมานี้มีพลังงานมากกว่าภูเขาไฟทั่วไปหลายร้อยเท่า
เกิดเป็นแหล่งกักเก็บหินหนืด
เรียกว่า กระเปาะหินหนืด
กระเปาะหินหนืด
มันหนาและหนืดมากพอที่จะกักเก็บก๊าซภูเขาไฟไว้ได้ และความดันมหาศาลกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
มันหนาและหนืดมากพอที่จะกักเก็บก๊าซภูเขาไฟไว้ได้ และความดันมหาศาลกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ทำให้เกิดหลุมปล่องภูเขาไฟขนาดใหญ่เรียกว่า แคลดีรา
แคลดีรา
นักธรณีวิทยาพบหลักฐานการปะทุซึ่งเกิดขึ้นในอดีตที่เยลโลว์สโตน – ชั้นหินที่เกิดจากการบีบอัดของเถ้าภูเขาไฟ
ดร.โรเบิร์ต คริสเตียนสัน กรมทรัพยากรธรณีแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา –“มันน่าอัศจรรย์มากที่เราได้รู้ว่ามีวงจรการปะทุของภูเขาไฟที่ทำให้เกิด แคลดีรา ซึ่งการปะทุของภูเขาไฟขนาดใหญ่นี้จะเกิดขึ้นทุกๆ 600,000 ปี”
การปะทุครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 640,000 ปีที่แล้ว
ในอดีตมีการปะทุอื่นอีกหรือไม่?
ดร.โรเบิร์ต คริสเตียนสัน กรมทรัพยากรธรณีแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา – “จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องยากมากที่จะบอกได้ว่า แท้จริงแล้วเกิดอะไรใต้ภูเขาไฟอย่างเยลโลว์สโตน ถ้าภูเขาไฟขนาดมหึมานี้ปะทุในวันพรุ่งนี้ ผลที่ตามมาคือความหายนะ พื้นที่ที่มีขนาดเท่ากับทั้งทวีปจะถูกทำลายล้างและจะส่งผลกระทบต่อทั้งโลกเป็นระยะเวลาอีกหลายปีหลังจากนั้น”
การปะทุนี้อาจจะคร่าชีวิตผู้คนได้มากกว่าการปะทุของภูเขาไฟในอดีตทั้งหมดรวมกัน
เป็นการระเบิดด้วยอานุภาพที่เทียบเท่ากับระเบิดปรมาณูนับพันลูก
ศาสตราจารย์สตีฟ สปาร์กส์ มหาวิทยาลัยบริสตอล – “มีความเป็นไปได้ว่าการปะทุขนาดมหึมาครั้งต่อไปอาจจะเกิดขึ้นในอีกหนึ่งแสนปีข้างหน้าหรืออาจจะเป็นวันพรุ่งนี้ก็ได้”