ทำไมท้องฟ้าจึงเป็นสีฟ้า?
สีนี้มาจากไหน?
และถ้าท้องฟ้าเป็นสีฟ้า ทำไมมันถึงดูเป็นสีแดง สีส้มหรือสีชมพูเมื่อดวงอาทิตย์ตกดิน?
ถ้าคุณมองสายรุ้ง คุณจะเห็นว่าแสงแดดนั้นประกอบด้วย สเปคตรัมของสีต่างๆ จากด้านหนึ่งที่มีสีแดง สีส้มและสีเหลือง ไปจนถึงสีเขียว สีฟ้า และสีม่วงที่อีกด้านหนึ่ง
คุณสามารถมองเห็นปรากฏการณ์เดียวกัน เวลาที่แสงเคลื่อนที่ผ่านแท่งแก้วปริซึม
ปริซึมนั้นแยกองค์ประกอบของแสงออกเป็นสีต่างๆ หรือถ้าจะพูดให้เฉพาะเจาะจง มันแยกแสงออกตามขนาดความยาวคลื่น
สีคือวิธีที่ตาและสมองของเรารับรู้แสงที่มีความยาวคลื่นต่างกัน
สีแดงมีความยาวคลื่นที่ยาวที่สุด ดังนั้นเราจึงมองเห็นสีนี้ที่ปลายด้านหนึ่งของสเปคตรัม
สีม่วงมีความยาวคลื่นสั้นที่สุด และดังนั้นจึงปรากฏตัวที่ปลายอีกด้านหนึ่ง
แสงสีม่วง = ความยาวคลื่นสั้นที่สุด
แสงสีแดง = ความยาวคลื่นยาวที่สุด
แสงจากดวงอาทิตย์เดินทางผ่านอวกาศเป็นเส้นตรง
คลื่นแสงเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง
แต่เมื่อแสงเดินทางมาถึงโลก จะเริ่มเกิดการกระเจิงแสง เนื่องจากโมเลกุลของก๊าซในชั้นบรรยากาศ
ชั้นบรรยากาศของเราประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ และอะตอมของพวกมันมีขนาดที่พอเหมาะสำหรับทำให้แสงสีน้ำเงิน เกิดการกระเจิงออกไป ในขณะที่แสงสีอื่นซึ่งส่วนมากจะมีความยาวคลื่นยาวกว่า สามารถเคลื่อนที่ผ่านไปได้
ปรากฏการณ์นี้ถูกเรียกว่าการกระเจิงแบบเรย์เล
ดังนั้น เมื่อเรามองดูท้องฟ้าเราจะมองเห็นแสงสีฟ้าที่กระเจิงออกมา โดยโมเลกุลของก๊าซในชั้นบรรยากาศ
เมื่อดวงอาทิตย์อยู่เหนือศีรษะพอดี ปริมาณของชั้นบรรยากาศที่แสงต้องเดินทางผ่านนั้นจะลดลง
แต่เมื่อพระอาทิตย์กำลังตกนั้น ...
Please log in to view and download the complete transcript.