ภูเขาไฟเป็นการระเบิดตัวของธรณีสัณฐานที่มีความรุนแรงมากที่สุด
สามารถปล่อยหินหลอมเหลว และฝุ่นควันของเถ้าภูเขาไฟ... ขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ…
ด้วยผลกระทบที่ร้ายแรง
ภูเขาไฟส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามแนวขอบแผ่นฐานธรณีแบบการก่อเกิดและการทำลาย บริเวณนี้เป็นที่ซึ่งแผ่นเปลือกโลกถูกผลักเข้าหากันหรือถูกดึงออกจากกัน
ขอบแผ่นฐานธรณีแบบก่อเกิดหรือแบบทำลาย
รอยแตกหรือจุดอ่อนจะทำให้หินหนืดสามารถพุ่งขึ้นมาจากใต้ชั้นเปลือกโลก
ความดันเพิ่มสูงขึ้นอย่างฉับพลันทำให้หินหนืดเกิดการระเบิด เป็นการระเบิดของภูเขาไฟ
หินหนืดที่พุ่งขึ้นมาถึงพื้นผิวโลกเรียกว่า ลาวา
ลาวา
ลาวาหลอมเหลวนี้ท้ายที่สุดก็จะเย็นตัวลงเกิดเป็นหินก้อนใหม่
หลังจากที่มีการปะทุมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป เนินหินจะก่อตัวขึ้นเกิดเป็นภูเขาไฟรูปทรงกรวย
ภูเขาไฟต่างมีโครงสร้างหลักที่เหมือนกัน
การสะสมตัวของหินหนืดใต้ภูเขาไฟ ทำให้เกิดเป็นเตาหลอมเดือด ร้อน เรียกว่า กระเปาะหินหนืด
กระเปาะหินหนืด
ปล่องหลักจะช่วยให้หินหนืดไหลออกไป
ปล่องหลัก
ปล่องรองจะมีขนาดเล็กกว่าที่หินหนืดจะสามารถไหลผ่านออกไปได้
ปล่องรอง
พื้นผิวที่ยุบตัวเรียกว่าปากปล่องภูเขาไฟ
ปากปล่องภูเขาไฟ
ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากที่การปะทุได้ระเบิดส่วนบนของภูเขาไฟออกไป
การปะทุเกิดขึ้นเมื่อมีแรงดันให้หินหนืดไหลขึ้นไปทางปล่องหลักไปสู่ปากปล่องภูเขาไฟ
ถ้าเถ้าและโคลนจากการปะทุของภูเขาไฟผสมปนกับน้ำฝน หรือหิมะจะทำให้เกิดโคลนไหลที่เคลื่อนตัวเร็ว
ลาวาร้อนและโคลนไหลสามารถทำลายพื้นที่เป็นวงกว้างได้
อย่างไรก็ตาม ภูเขาไฟก็สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกของเรา
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าภูเขาไฟทำให้เกิดชั้นบรรยากาศแรกของโลก โดยการพ่นไอน้ำ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปในอากาศ
และการปะทุของภูเขาไฟยังนำไปสู่วัฏจักรคาร์บอน ซึ่งสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต โดยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
มันสามารถปะทุอยู่ได้เป็นระยะเวลานาน
แต่มันก็อาจกลายเป็นภูเขาไฟสงบที่ไม่ปะทุเป็นเวลาหลายร้อยหรือหลายพันปี
และในที่สุดมันก็จะดับสนิท เหลือเป็นเพียงเนินเขารูปกรวยที่ไม่เคยปะทุอีกเลย