แหล่งพลังงานพื้นฐานที่ค้ำจุนชีวิตทั้งหลาย คือ ดวงอาทิตย์
พลังงานถูกส่งผ่านไปยังสิ่งมีชีวิตได้อย่างไร คำตอบคือห่วงโซ่อาหาร ซึ่งหมายถึง การกินต่อกันเป็นทอดๆ ของสิ่งมีชีวิต
ด้านล่างสุดของทุกห่วงโซ่อาหาร คือผู้ผลิต ซึ่งเปลี่ยนพลังงานจากดวงอาทิตย์ เป็นน้ำตาลด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
ผู้ผลิต: พืช เปลี่ยนพลังงานจากดวงอาทิตย์
นี่คือขั้นตอนสำคัญที่ค้ำจุนชีวิตทั้งมวล
สัตว์สร้างอาหารเองไม่ได้ จึงต้องอาศัยพลังงานจากพืช สัตว์กินพืช หรือผู้บริโภคลำดับที่หนึ่ง กินพืชโดยตรง
ผู้บริโภคลำดับที่หนึ่ง:สัตว์กินพืช กินพืชเป็นอาหาร
จากนั้น สัตว์กินพืชถูกบริโภคต่อโดยสัตว์กินเนื้อ หรือผู้บริโภคขั้นที่สอง ซึ่งได้พลังงานจากการกินสัตว์อื่น
ผู้บริโภคลำดับที่สอง:สัตว์กินเนื้อ กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร
แต่การส่งต่อพลังงานขึ้นไปตามห่วงโซ่อาหาร จะมีการสูญเสียพลังงานปริมาณมากในทุกขั้นตอน
ห่วงโซ่อาหาร
กวางคาริบูเหล่านี้ได้พลังงานเพียงน้อยนิด เมื่อเทียบกับพลังงานที่พืชเก็บเกี่ยวจากดวงอาทิตย์
พวกมันใช้พลังงานในการหายใจ เคลื่อนที่และกำจัดของเสีย จึงเหลือพลังงานเพียง 1 ใน 10 ที่กินเข้าไปเท่านั้น มาใช้ในการเจริญเติบโต และส่งต่อไปยังผู้บริโภคขั้นที่สอง อย่างหมาป่า
ในระดับของห่วงโซ่อาหารสูงขึ้นไป จำนวนของสิ่งมีชีวิตที่ดำรงอยู่ได้จะน้อยลง
ซึ่งสามารถแสดงได้ด้วยแผนภาพพีระมิดชีวมวลของสิ่งมีชีวิต
พีระมิดของชีวมวล
พืชปริมาณมหาศาลค้ำจุนฝูงกวางคาริบู ซึ่งค้ำจุนหมาป่า ...
Please log in to view and download the complete transcript.