หลังจากผ่านไป 4 ปี ชาวรัสเซียก็มียานอวกาศที่พวกเขาเชื่อว่าทนทานเพียงพอที่จะอยู่รอดจากสภาพอันเลวร้ายของดาวศุกร์ ซึ่งก็คือ ยานเวเนรา 7
วันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ.1970
ก่อนวันคริสต์มาสไม่นาน ทีมงานชาวรัสเซียพบสัญญาณอ่อนๆ จากเครื่องวัด รายงานถึงการลงจอด พวกเขาทำมันสำเร็จแล้ว
ภาพจริงจากดาวศุกร์
แต่สภาพบรรยากาศแบบไหนที่เครื่องวัดตรวจเจอระหว่างทางตอนที่มันลงจอด?
เดวิด กรินสพูน นักบรรยากาศวิทยา - “ถ้าคุณกำลังทิ้งดิ่งลงมาผ่านชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์ สิ่งแรกคุณจะต้องผ่านกลุ่มเมฆซึ่งปกคลุมอย่างหนาแน่น พวกมันไม่เหมือนกับเมฆบนโลก ประการแรก มันปกคลุมทั่วทั้งดาวเคราะห์ และชั้นเมฆมีความหนามากกว่า 10 ไมล์ ดังนั้นมันจะใช้เวลานานมาก กว่าจะผ่านชั้นเมฆเหล่านี้ไปได้ ในขณะที่อยู่ภายในกลุ่มเมฆ มันจะกระจายตัวกันมาก โดยจะคล้ายกับกลุ่มหมอกเสียมากกว่า”
กลุ่มเมฆของดาวศุกร์กลั่นฝนกรดซัลฟูริค
เดวิด กรินสพูน นักบรรยากาศวิทยา - “อืม…จะเป็นอย่างไรถ้าเราไปยืนบนพื้นผิวของดาวศุกร์น่ะหรือ? สิ่งแรกที่อาจจะเกิดขึ้นคือ คุณอาจจะกรีดร้อง และไม่มีอย่างอื่นเกิดขึ้น เพราะว่าคุณจะถูกทำลายโดยทันทีจากความร้อน ความดันที่สูง บรรยากาศซึ่งเป็นอันตราย แต่ถ้าสมมุติว่าคุณมีชุดควบคุมสภาพแวดล้อม และคุณเดินบนพื้นผิวของดาวศุกร์ สิ่งแรกที่คุณจะสังเกตเห็น ...
Please log in to view and download the complete transcript.