ทุกๆ วัน มีเครื่องบินประมาณ 50,000 ลำบินขึ้นบนท้องฟ้า
ด้วยจำนวนเครื่องบินมากมายที่บินพร้อมกัน การจัดเส้นทางการบินอย่างปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง และเป็นงานของคณิตศาสตร์
เวกเตอร์
การเดินทางทางอากาศที่ทันสมัยและปลอดภัยจะเป็นไปไม่ได้เลย หากไม่มีหอบังคับการบิน
พวกเขาติดตามเครื่องบินโดยใช้ เวกเตอร์ กลุ่มของตัวเลขที่เรียงลำดับ ที่ใช้บอกตำแหน่งและทิศทางของเครื่องบินบนท้องฟ้า
เวกเตอร์แจ้งตำแหน่ง
เวกเตอร์แจ้งตำแหน่งใช้ระบุตำแหน่ง ณ จุดหนึ่ง ในพื้นที่ที่เทียบกับตำแหน่งเริ่มต้น
คล้ายกับระยะพิกัด เวกเตอร์มีองค์ประกอบ X Y และ Z ที่ระบุตำแหน่งในสองหรือสามมิติ
เวกเตอร์จำเป็นต้องแสดงถึงทิศทางเสมอ ไม่เหมือนปริมาณสเกลาร์ ซึ่งมีเพียงค่าขนาด เช่น ความยาวหรืออัตราความเร็วเท่านั้น
ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องเขียนเวกเตอร์โดยวางลูกศรระบุทิศทาง
สเกลาร์:
ปริมาณแสดงเพียงขนาดเท่านั้น
อัตราเร็ว = 50 กม./ชม.
เวกเตอร์:
ปริมาณแสดงขนาดและทิศทาง
ความเร็ว = 50 กม./ชม. ตะวันออกเฉียงเหนือ
ความปลอดภัยบนท้องฟ้า
ในการคำนวณเวกเตอร์ที่อธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุระหว่างสองจุด พิกัดเครื่องบินที่จุด A จะถูกหักลบออกจากจุด B
หอบังคับการบินใช้เวกเตอร์เพื่อรักษาระยะปลอดภัยระหว่างเครื่องบิน
ยกตัวอย่างเช่น เวกเตอร์สองอันขนานกัน หมายถึงมีทิศทางเดียวกัน หากเวกเตอร์อันหนึ่งเป็นพหุคูณของอีกอันหนึ่ง
ในกรณีนี้ สองเท่าของเวกเตอร์ AB เท่ากับหนึ่งเวกเตอร์ CD
นั่นคือ หากเครื่องบินสองลำเริ่มออกบิน และเวกเตอร์ของเส้นทางการบินของทั้งสองเป็นพหุคูณของกันและกัน พวกมันจะบินขนานกันไป และเส้นทางการบินจะไม่ตัดกัน
ดังนั้น เราสามารถใช้เวกเตอร์เพื่อคำนวณระยะระหว่างเครื่องบิน ณ เวลาใดเวลาหนึ่งได้ไม่ยาก เพื่อให้มั่นใจถึงระยะปลอดภัยเสมอ
ท้องฟ้าไม่มีไฟจราจร หรือสะพานข้ามแยก หรือป้ายให้หยุด ดังนั้น เวกเตอร์จึงมีความสำคัญยิ่งต่อชีวิตผู้คน 6 ล้านคน ให้เดินทางถึงที่หมายอย่างปลอดภัยในแต่ละวัน