กี่โมงแล้วครับ?
ดูเหมือนเป็นแค่คำถามง่ายๆ...
แต่ไม่ว่าในขณะใดก็ตาม เวลา ณ สถานที่ต่างๆ บนโลกมีความแตกต่างกัน
ในขณะที่คนหนึ่งตื่นขึ้นมารับประทานอาหารเช้า เวลา 7 โมงเช้า อีกคนหนึ่งกำลังจะเข้านอนในเวลา 4 ทุ่ม
เขตเวลา
เวลาท้องถิ่นทั้งหมดจะขึ้นกับเขตเวลาที่เราอยู่
เส้นแวงเป็นตัวกำหนดเขตเวลาของโลก
เส้นแวง มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเส้นเมอริเดียน เป็นเส้นที่ลากเป็นแนวตั้งจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้ โดยแต่ละเส้นจะห่างกัน 15 องศา
เส้นเมอริเดียนจะแบ่งโลกออกเป็น 24 เขตเวลา
แต่ละเขตเวลาจะมีความแตกต่างกัน 1 ชั่วโมง ตามการหมุนของโลก
กล่าวคือ ในขณะที่เส้นเมอริเดียนหนึ่งอยู่ที่เวลาบ่าย 2 โมง ห่างออกไป 2 เขตเวลา หรือ 30 องศาทางตะวันตก เวลาจะช้าลงไป 2 ชั่วโมง นั่นคือ เวลาเที่ยงวัน
ระหว่างเขตเวลาที่ 0 และ 24 จะมีเส้นแบ่งวันระหว่างประเทศ ที่จะข้ามจากวันหนึ่งไปเป็นอีกวันหนึ่ง
แล้วใครเป็นผู้กำหนดเวลาและสถานที่?
เวลามาตรฐานกรีนิช
ย้อนประวัติศาสตร์กลับไปเมื่อปี ค.ศ.1884
เซอร์ แซนฟอร์ด เฟลมมิ่ง นักประดิษฐ์ในช่วง ปี ค.ศ.1827-1915
ในการประชุมนานาชาติเมอริเดียน เซอร์ แซนฟอร์ด เฟลมมิ่ง ชาวแคนาดา ได้เสนอให้เวลาเริ่มต้นที่เขตการปกครองกรีนิชในกรุงลอนดอน ศูนย์กลางการค้าและเมืองท่าที่สำคัญของโลก
กรีนิชจึงเป็นกลายเป็นต้นกำเนิดของเวลาสากลในการจัดเขตเวลา 24 เขตทั่วโลก
ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ เวลามาตรฐานกรีนิช
ในปี ค.ศ.1929 ประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกเริ่มตั้งเวลาของตนเองตามเวลามาตรฐานกรีนิช
การเดินทางระหว่างประเทศ
การเดินทางข้ามเขตเวลาจะมีผลต่อร่างกายที่ยังเคยชินอยู่กับเขตเวลาเดิม ดังนั้นร่างกายจึงจำเป็นต้องปรับตัวไปตามเขตเวลาที่เราอยู่
เช่น ถ้าเราเดินทางจากลอนดอนไปลอสแองเจลิส ซึ่งมีเวลาที่ช้ากว่า 8 ชั่วโมง
นั่นหมายความว่า คุณจะรู้สึกหิวในเวลาที่คุณควรจะนอน และรู้สึกง่วงในเวลากลางวัน
ถึงแม้นาฬิกาจะใช้กำหนดเวลามานานกว่าหนึ่งศตวรรษ
แต่ทุกๆ ที่ที่เราไป เวลาจะยังคงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ