สหรัฐอเมริกา วันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ.1936
วันเลือกตั้งปี ค.ศ.1936 เราได้เห็นผลการเลือกตั้งที่น่าประหลาดใจที่สุดครั้งหนึ่ง ในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา
นิตยสารที่ทรงอิทธิพล ลิทเทอระรี ไดเจสต์ ได้สำรวจความคิดเห็นผู้อ่าน ก่อนการเลือกตั้ง
การสำรวจประกาศว่าผู้ท้าชิงจากพรรครีพับลิกัน อัล์ฟ แลนดอน
อัล์ฟ แลนดอน
ผู้ท้าชิงจากพรรครีพับลิกัน
จะเอาชนะ ผู้ท้าชิงจากพรรคเดโมแครต แฟรงค์คลิน ดี รูซเวลท์ และขึ้นเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐ
แฟรงค์กลิน ดี รูซเวล์ท
ผู้ท้าชิงจากพรรคเดโมแครต
ลิทเทอระรี ไดเจสต์ ทำนายว่า แลนดอน จะชนะอย่างเด็ดขาด
แต่ผลการสำรวจมีข้อบกพร่อง
ลิทเทอระรี ไดเจสต์ ตั้งใจที่จะทำสำรวจแบบสุ่ม
จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างประชากรทุกภาคส่วนโดยการสุ่ม กลุ่มตัวอย่างทุกภาคส่วนควรสะท้อนความหลากหลายของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในประเทศ
การสำรวจแบบสุ่ม:ทุกคนมีโอกาสเท่ากันที่จะถูกเลือก ให้ค่าโดยประมาณว่าสาธารณชนจะเลือกอย่างไร
ความลำเอียงของกลุ่มตัวอย่าง
แต่กลุ่มตัวอย่างของ ลิทเทอระรี ไดเจสต์ ถูกบิดเบือนโดยไม่ได้ตั้งใจ
กลุ่มตัวอย่างของพวกเขาถูกคัดมาจากผู้สมัครรับนิตยสาร และจากการสำรวจทางโทรศัพท์แบบสุ่ม
แต่นั่นคือปี ค.ศ.1936 และอเมริกากำลังอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่
ในช่วงเวลาวิกฤตเศรษฐกิจนี้ มีคนไม่มากนักที่จะใช้จ่ายฟุ่มเฟือยดังเช่น สมัครสมาชิกนิตยสาร และมีเพียงคนรวยเท่านั้นที่มีโทรศัพท์ใช้ที่บ้าน
ดังนั้น กลุ่มตัวอย่างที่ดูเหมือนสุ่มของ ลิทเทอระรี ไดเจสต์ แท้ที่จริง มีความลำเอียงแฝงอยู่
ความลำเอียง:สร้างผลลัพธ์ที่บิดเบือน กลุ่มตัวอย่างไม่ได้เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมด
ผลการเลือกตั้ง
แต่เดิม กลุ่มคนรวยในอเมริกาเป็นกลุ่มสนับสนุนพรรครีพับลิกันและมีแนวโน้มที่พวกเขาจะเลือก แลนดอน
ในขณะที่ รูซเวลท์ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มผู้ใช้แรงงาน
ดังนั้น ผู้สนับสนุนรูซเวลท์จึงไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มตัวอย่าง และปรากฏให้เห็นในผลการเลือกตั้ง
ลิทเทอระรี ไดเจสต์ ได้ทำนายไว้ว่า แลนดอน จะชนะด้วยคะแนนเสียง 55%
แต่ในวันเลือกตั้ง ตัวแทนพรรคเดโมแครต แฟรงค์คลิน ดี รูซเวลท์ เป็นผู้ชนะอย่างชัดเจนด้วยคะแนนเสียง 60%
มันคือการชนะอย่างท่วมท้นครั้งใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งของอเมริกา แต่ ลิทเทอระรี ไดเจสต์ ล้มเหลว ในการทำนายเหตุการณ์การเมืองครั้งสำคัญยิ่งครั้งนี้ ทั้งหมดเป็นเพียงเพราะ ข้อผิดพลาดในการสุ่มกลุ่มตัวอย่างนั่นเอง