ป่าไทก้า หรือป่าขั้วโลกเหนือ
ป่าไทก้าหรือป่าขั้วโลกเหนือมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ทางซีกโลกเหนือ
มีพื้นที่ 500,000 ตร.กม. ประมาณ 17% ของพื้นดินบนโลก
ป่าไทก้าผลิตก๊าซออกซิเจนได้ในปริมาณมาก ซึ่งช่วยฟอกอากาศในชั้นบรรยากาศของทั้งโลก
แต่การจะมีชีวิตรอดที่นี่อาจเป็นเรื่องยาก
พื้นที่เหนือสุดของป่าไทก้ามีระยะทางห่างจากขั้วโลกเหนือ 1,600 กิโลเมตร เต็มไปด้วยป่าสน ซึ่งทนทานต่อสภาพอากาศที่หนาวเหน็บได้
แสงแดดมีจำกัด โดยเฉพาะในฤดูหนาว ต้นไม้ต่างๆ ต้องดิ้นรนต่อสู้ในการดูดรับแสงแดด เพื่อนำมาใช้สังเคราะห์ด้วยแสง
ในอุณหภูมิต่ำมากถึง – 70 องศาเซลเซียส พื้นดินที่กลายเป็นน้ำแข็งเป็นเรื่องปกติ
ซากพืชใช้เวลานานในการย่อยสลาย ทำให้ดินไม่อุดมสมบูรณ์
และทั้งๆ ที่มีปริมาณน้ำฝนต่อปีโดยเฉลี่ย 38-50 เซนติเมตร แต่น้ำส่วนใหญ่ก็เย็นจัดจนกลายเป็นน้ำแข็ง
ภูมิอากาศของป่าไทก้า: มีอุณหภูมิต่ำถึงจุดเยือกแข็งมีดินคุณภาพต่ำขาดแร่ธาตุมีน้ำเพียงส่วนน้อยที่ไม่เป็นน้ำแข็ง และไม่ค่อยได้รับแสงแดด
ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ทำให้พืชพันธุ์ในป่าไทก้ามีช่วงเวลาในการเจริญเติบโตน้อย คือมีเพียง 1 เดือน ในรอบ 1 ปี ต้นไม้จึงโตช้าและแคระแกร็น
แต่ต้นสนสามารถรักษาใบแหลมเล็กคล้ายเข็มของมันไว้ตลอดปี พร้อมสำหรับการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ทันทีเมื่อเปลี่ยนฤดูกาล
เนื่องจากน้ำเป็นของหายาก ...
Please log in to view and download the complete transcript.