ห้องปฏิบัติการวิจัยใต้ดินบอลบีคือเหมืองแร่โพแทชเก่าใน นอร์ธ ยอร์คเชียร์
ห้องปฏิบัติการวิจัยใต้ดิน บอลบี สหราชอาณาจักร
มันเป็นเหมืองแร่ที่ลึกที่สุดในยุโรป ซึ่งลึกกว่า 1,000 เมตร
แต่ว่าคนพวกนี้ไม่ใช่คนงานเหมือง
พวกเขาเป็นนักวิทยาศาสตร์
พวกเขากำลังค้นหาสิ่งที่มองไม่เห็น และยังไม่เคยตรวจพบมาก่อน แต่พวกเขาเชื่อว่ามันเป็นส่วนประกอบที่มีอยู่ประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์ของมวลทั้งหมดในเอกภพ
พวกเขากำลังค้นหาสสารมืด
เหล่าดาวฤกษ์ในหลายกาแล็กซี รวมทั้งกาแล็กซีเองด้วย กำลังเคลื่อนที่จากแรงดึงดูดของทุกอย่างที่เรามองเห็นเร็วกว่าที่เราอาจจะเคยคาดไว้
กฎทางฟิสิกส์บอกว่าจะต้องมีมวลมากกว่านี้
เพียงแต่มองไม่เห็นเท่านั้น
นักวิทยาศาสตร์ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับสสารมืดขึ้นมา
อนุภาคที่มองไม่เห็นซึ่งให้มวลที่หายไป
เข้าใจว่าอนุภาคเหล่านี้แผ่กระจายไปทั่วทางช้างเผือก รวมทั้ง กาแล็กซีทุกแห่งในเอกภพ
พวกมันแทบจะไม่ทำปฏิกิริยากับสสารอื่นเลย ทำให้ระบุสารนี้ได้ยากยิ่ง
พวกมันอาจเคลื่อนทะลุผ่านตัวคุณไปได้ โดยที่คุณไม่รู้เลย
ทำให้การตรวจหาอนุภาคเหล่านี้เป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่ง
นักวิทยาศาสตร์หลายคนทำงานกันอยู่ในเหมือง ไม่แค่เพียงในสหราชอาณาจักรเท่านั้น แต่รวมถึงในประเทศอเมริกา สเปน อิตาลี และฝรั่งเศสด้วย ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการค้นหาสสารมืด
ลึกลงไปใต้พื้นดิน มีการรบกวนจากรังสีคอสมิกน้อยกว่า
รังสีนี้อาจก่อให้เกิดสัญญาณที่ผิดพลาดขณะทำการตรวจหาอนุภาค
การทำงานภายในเหมืองหมายถึง อุปกรณ์ของพวกเขามีโอกาสพบสิ่งที่กำลังค้นหามากขึ้น
เจล สมิธ มหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์–“นี่คือเครื่องตรวจอันล่าสุดของเรา และเป็นเครื่องตรวจแบบซีนอนเหลว ก็อย่างที่คุณเห็น มันล้อมรอบด้วยกองตะกั่วเพื่อป้องกันตัวมันเองจากการแผ่กัมมันตภาพรังสีจากผนังที่อยู่รอบๆ เรา เมื่อหนึ่งในอนุภาคที่เรากำลังค้นหาชนเข้ากับซีนอนนี้ มันจะปล่อยแสงวาบออกมา และกระบวนการนี้เรียกว่า การเกิดประกายแสง ประกายแสงวาบนี้ล่ะที่เรากำลังมองหา”
แต่เหมืองแห่งนี้ยังไม่มีประกายแสงวาบเกิดขึ้นเลย
การค้นหาสสารมืดยังคงดำเนินต่อไป เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์อธิบายสิ่งที่ยึดกาแล็กซีเข้าด้วยกันได้เสียที
ศาสตราจารย์ทิม ซัมเนอร์ อิมพิเรียลคอลเลจ ลอนดอน – “มันเป็นปัญหาทั้งทางฟิสิกส์และจักรวาลวิทยาอยู่ในตอนนี้ การคลี่คลายปัญหานี้ได้จะเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่มาก มากแบบจินตนาการไม่ออกเลยล่ะ”