เปียโนและตารางธาตุ มีความเหมือนกันอย่างไร?
ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 นักวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่ง ใช้เปียโนในการเสนอความคิดอันสุดโต่งต่อ วงการวิทยาศาสตร์
ความรู้ที่ต่อยอดจากทฤษฎีของเขา ช่วยให้เกิดการพัฒนาเคมีสมัยใหม่ และความเข้าใจเกี่ยวกับสรรพสิ่งที่ประกอบเป็นเอกภพ
จอห์น นิวแลนด์ ปี ค.ศ.1863
จอห์น นิวแลนด์ เป็นนักเคมีชาวสหราชอาณาจักร ที่กำลังศึกษาวิธีการจัดเรียงธาตุต่างๆ
ในปี ค.ศ.1863 เขาเป็นคนแรกที่เสนอตารางธาตุ ซึ่งเรียงธาตุตามน้ำหนักของอะตอมที่ปัจจุบันเรียกว่า มวลอะตอมสัมพัทธ์
มวลอะตอมสัมพัทธ์
แม้ว่าแนวคิดนี้ดูคล้ายกับตารางธาตุที่ใช้ในปัจจุบัน แต่ตารางของนิวแลนด์ กลับมีโครงสร้างและลำดับการเรียงที่แตกต่างอย่างมาก
เขาพบรูปแบบการจัดเรียงที่น่าประหลาดใจ
ดูเหมือนว่า ธาตุต่างๆ จะมีสมบัติคล้ายกับธาตุตัวอื่นที่อยู่ห่างออกไป 8 ช่อง ในตารางนี้
นิวแลนด์รู้สึกว่าธาตุเหล่านี้จัดเรียงตัวตามออกเทฟ เช่นเดียวกับตัวโน้ตในบันไดเสียงดนตรี
แม้ว่ามันจะเป็นแนวคิดที่พิลึกมาก แต่เขาก็แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการจัดเรียงนี้จะซ้ำกันทุกๆ ธาตุตัวที่ 8
ตัวอย่าง เช่น ลิเทียม ค่อนข้างว่องไวต่อปฏิกิริยากับน้ำมาก... จะมีสมบัติเหมือนกันมากกับธาตุที่ห่างมา 8 ตัว คือ โซเดียม
...Please log in to view and download the complete transcript.