ระบบสุริยะเป็นบริเวณในอวกาศที่อยู่ภายใต้อิทธิพลจากแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ของเรา
เชื่อกันว่าระบบสุริยะถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 5,000 ล้านปีที่แล้ว จากเมฆก๊าซและฝุ่นก้อนใหญ่ที่หมุนรอบตัวเอง
ก๊าซหลัก:โฮโดรเจน 74% ฮีเลียม 24% ก๊าซอื่นๆ ที่เหลือ:ออกซิเจน ไนโตรเจน คาร์บอน
แกนกลางของเมฆนี้ค่อยๆ ก่อตัวภายใต้อิทธิพลของแรงโน้มถ่วงจนหนาแน่นขึ้นและร้อนขึ้น
ขณะที่สสารตกลงสู่แกนกลางที่กำลังโตขึ้น ก้อนเมฆจะหมุนเร็วขึ้น และแบนราบลงคล้ายแผ่นจานเสียงขนาดยักษ์
ในที่สุด อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นทำให้มีพลังงานเพียงพอในการเริ่มปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน ปฏิกิริยาฟิวชันเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่า ดวงอาทิตย์ของเราได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว
ดวงอาทิตย์ใช้เวลา 10 ล้านปี ในการก่อกำเนิด
ก๊าซที่เบากว่าจะถูกกวาดให้อยู่ห่างออกไปในระบบสุริยะ ทิ้งไว้แต่เฉพาะสสารที่หนักและแข็งกว่า รวมทั้งพวกโลหะที่มีจุดหลอมเหลวสูงให้ยังคงอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์
โลหะที่หลอมเหลวและอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน ซึ่งจะเกาะเข้าด้วยกันจนก่อตัวเป็นหิน
แรงดึงดูดระหว่างมวลสารทำให้หินเหล่านี้รวมตัวกัน ซึ่งในที่สุดก็ก่อตัวเป็นดาวเคราะห์
กระบวนการนี้เรียกกันว่า การสะสมมวล
ในบริเวณชั้นในของระบบสุริยะอันแสนร้อนแรง ดาวเคราะห์หินที่มีแกนกลางเป็นโลหะได้ก่อตัวขึ้น
ดาวเคราะห์หิน:ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร
ในบริเวณชั้นนอกของระบบสุริยะที่เย็นกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจะแตกต่างออกไป
ไกลออกไปจากดวงอาทิตย์ อุณหภูมิจะลดลง
ไอน้ำกลั่นตัวและกลายเป็นน้ำแข็ง
น้ำแข็งพวกนี้เมื่อรวมกับก๊าซปริมาณมหาศาลที่ถูกพัดพามาจากดวงอาทิตย์ ทำให้มีสสารปริมาณที่มากกว่าบริเวณชั้นในของระบบสุริยะเป็นอย่างมาก
ในขณะที่แกนของน้ำแข็งและโลหะขนาดมหึมากำลังโตขึ้นเรื่อยๆ ก๊าซที่ถูกพัดพาออกมาตอนที่ดวงอาทิตย์ถือกำเนิด ...
Please log in to view and download the complete transcript.