มีทฤษฎีมากมายชี้ให้เห็นว่า ในขณะที่บางพื้นที่จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นในอนาคต แต่บางแห่งบนโลกจะเผชิญกับความหนาวเย็นอย่างมาก ซึ่งอาจดูแย้งกับความรู้สึกของเรา
ข้อขัดแย้งนี้สามารถอธิบายได้ด้วยข้อมูลที่ว่า มหาสมุทรขนาดใหญ่ของโลกสะสมความร้อนไว้มากกว่าชั้นบรรยากาศ 1,000 เท่า
ความร้อนนี้จะเคลื่อนย้ายไปรอบโลกตามการไหลเวียนที่ซับซ้อนของกระแสน้ำ ซึ่งเชื่อมโยงทั้งหมดเข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย
การไหลเวียนของกระแสน้ำนี้เรียกว่า แถบสายพานยักษ์แห่งมหาสมุทร
แถบสายพานยักษ์แห่งมหาสมุทร:มีกระแสน้ำอุ่นที่พื้นผิว (สีแดง) มีกระแสน้ำเย็นที่ลึก (สีน้ำเงิน)
ถังน้ำนี้แสดงการทำงานของระบบกระแสน้ำในมหาสมุทร
เมื่อกระแสน้ำเค็มถูกทำให้เย็นด้วยลมอาร์กติก มันจะมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น และหนักขึ้น เพียงพอที่จะทำให้น้ำไหลลงไปที่พื้นมหาสมุทร
กระแสน้ำเย็นนี้จะไหลกลับไปตามพื้นมหาสมุทรจนกระทั่งไปถึงเส้นศูนย์สูตร
เมื่อกระแสน้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น มันลอยขึ้นทำให้เกิดวงจรการไหลเวียนของระบบสายพานในมหาสมุทรสมบูรณ์และต่อเนื่อง
กระแสน้ำเคลื่อนที่ครบวงจรใช้เวลา 1,000 ปี
กลับมาที่ถังน้ำของเรา สังเกตการเปลี่ยนแปลงเมื่อน้ำจืดถูกเติมลงไป ในบริเวณการจมของสายพานกระแสน้ำ
เมื่อความเข้มข้นของเกลือในสายพานกระแสน้ำลดลง ความหนาแน่นน้อยลงจนไม่พอจะทำให้มันจมได้
ความเข้มข้นของเกลือลดลง ความหนาแน่นลดลง
ดังนั้นความต่อเนื่องของการไหลเวียนของกระแสน้ำถูกตัดขาด พร้อมกับการส่งผ่านความร้อน
อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นทำให้ธารน้ำแข็งที่ขั้วโลกละลาย ปริมาณน้ำจืดมหาศาลกำลังไหลลงสู่มหาสมุทร ในตำแหน่งที่สายพานกระแสน้ำจมลงพอดี
มีโอกาสแค่ไหนที่สายพานกระแสน้ำจะหยุดลงอย่างสิ้นเชิง?
ดร.เทอร์รี่ จอยซ์ สถาบัน วู้ด โฮล โอเชียโนกราฟิก –“เรารู้อย่างหนึ่งว่า เรากำลังเจอทางตัน ...
Please log in to view and download the complete transcript.