ในขณะที่ลงไปใต้ทะเลลึก นักดำน้ำต้องเผชิญกับภัยที่ร้ายแรงที่อาจถึงชีวิตได้ ความดัน
ความดันอุทกสถิต
ความดันอุทกสถิตเกิดจากจากน้ำหนักของน้ำที่กดดันร่างกายของนักดำน้ำ
มันเป็นแรงดันที่ ปะทะกับนักดำน้ำในทุกทิศทาง และเพิ่มขึ้นตามความลึก
ความดันเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตามความลึก:ระดับน้ำทะเล = 100 กิโลปาสคาล
ลึก 10 เมตร = 200 กิโลปาสคาล
ลึก 20 เมตร = 300 กิโลปาสคาล
ลึก 30 เมตร = 400 กิโลปาสคาล
“ยิ่งดำน้ำลงไปลึกมากเท่าไหร่ แรงดันเนื่องจากน้ำหนักของน้ำก็จะมากขึ้นเท่านั้น จะเห็นได้ว่า ในขณะที่ฉันลงไปลึกมากขึ้นพร้อมกับขวดพลาสติกเปล่าขวดนี้ ขวดจะถูกอัดจนยุบตัว เนื่องจากอากาศภายในถูกบีบอัด”
นักดำน้ำจำเป็นต้องให้แรงดันภายในร่างกายของพวกเขาปรับสภาพให้เท่ากับแรงดันน้ำภายนอก เพื่อที่ร่างกายของพวกเขาจะได้ไม่ถูกอัดจนยุบตัวเหมือนขวดพลาสติกนั้น
พวกเขาทำได้โดยค่อยๆ ลดระดับลงช้าๆ และหายใจจากถังอากาศพิเศษสำหรับดำน้ำ
แต่แรงดันที่เพิ่มขึ้นยังมีผลกระทบอีกด้านหนึ่ง มันทำให้ไนโตรเจนละลายเข้าสู่กระแสเลือดของนักดำน้ำ
หากนักดำน้ำกลับขึ้นสู่ผิวน้ำเร็วจนเกินไป การลดแรงดันภายนอกอย่างรวดเร็ว จะทำให้เกิดฟองไนโตรเจนขึ้นในกระแสเลือด คล้ายกับฟองอากาศจากขวดน้ำอัดลมเกิดเมื่อความดันลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อเปิดขวด
มันอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคเมาความกดอากาศ ซึ่งรู้จักกันในชื่อ โรคเบนด์ ...
Please log in to view and download the complete transcript.