สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องพึ่งพาสิ่งมีชีวิตอื่นเพื่อความอยู่รอด แต่สิ่งมีชีวิตบางชนิดพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกันสู่ระดับสูงสุด
เมื่อสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน อาศัยอยู่และเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด ความสัมพันธ์นี้เรียกว่า การอยู่ร่วมกัน
เมื่อความสัมพันธ์นั้นนำมาซึ่งประโยชน์ของสิ่งมีชีวิตทั้งคู่ เรียกว่าภาวะพึ่งพากัน
ภาวะพึ่งพากัน
ภาวะพึ่งพากันพบได้ในเกือบทุกระบบนิเวศ และระหว่างสิ่งมีชีวิตหลากหลาย ทั้งพืชกับรา สัตว์กับพืช หรือระหว่างสัตว์ด้วยกัน
ในระบบนิเวศแนวปะการัง ปลาการ์ตูนอาศัยอยู่ใกล้ชิดกับดอกไม้ทะเล ซึ่งเป็นสัตว์ที่ใช้เข็มพิษจากหนวดในการจับเหยื่อ
ดอกไม้ทะเลปล่อยสารเคมีสู่น้ำเพื่อดึงดูดปลาการ์ตูน ซึ่งมีเมือกหุ้มตัวป้องกันมันจากเข็มพิษที่อาจทำให้ถึงตายได้
สิ่งนี้ทำให้ปลาการ์ตูนอยู่ร่วมกับดอกไม้ทะเลได้อย่างปลอดภัย ซึ่งช่วยปกป้องมันจากผู้ล่าอื่นได้ด้วย
เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน ปลาการ์ตูนช่วยไล่ผู้บุกรุกเช่น ปลาผีเสื้อ ไม่ให้มากินดอกไม้ทะเล
ภาวะพึ่งพากันระหว่างปลาการ์ตูนและดอกไม้ทะเล: ดอกไม้ทะเลปกป้องปลาการ์ตูน ปลาการ์ตูนขับไล่ผู้บุกรุก
ในระบบนิเวศเดียวกันนี้ มีความสัมพันธ์แบบพึ่งพากันอยู่อีกชนิด ระหว่างปลาบู่กับกุ้งดีดขัน
กุ้งขุดและทำความสะอาดรูในทราย ซึ่งปลาบู่เข้าไปอาศัยและวางไข่
กุ้งดีดขันมีสายตาที่ไม่ดีนัก ในขณะที่กุ้งขุดอยู่นั้น ปลาบู่จะคอยระวังภัยให้
ปลาจะใช้หางสัมผัสกุ้งเพื่อเตือนว่ามีผู้ล่ากำลังเข้ามา และพวกมันทั้งคู่จะลงไปหลบอยู่ในรู
ภาวะพึ่งพากันระหว่างปลาบู่และกุ้งดีดขัน:กุ้งขุดรูให้ปลาบู่ ปลาบู่คอยระวังภัยจากผู้ล่า
ภาวะพึ่งพากันทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่น่าประหลาดใจ และแนบแน่นระหว่างสายพันธุ์ ที่ต่างช่วยเหลือกันเพื่อให้ทั้งคู่สามารถอยู่รอดได้
Please log in to view and download the complete transcript.