โรเบิร์ต บราวน์ ปี ค.ศ.1827
ในปีค.ศ.1827 นักชีววิทยาชื่อโรเบิร์ต บราวน์ ได้มองผ่านกล้องจุลทรรศน์เพื่อศึกษาละอองเกสรดอกไม้ในน้ำ
เขาสังเกตเห็นบางสิ่งบางอย่างที่น่าตื่นตาตื่นใจ ละอองเกสรได้แต่เคลื่อนที่ไปมาไม่หยุดนิ่ง แม้เมื่อเขามองไปที่พวกมันอีกครั้งในภายหลัง
ปรากฏการณ์นี้กลายเป็นที่รู้จักในนาม การเคลื่อนที่แบบบราวเนียน
การเคลื่อนที่แบบบราวเนียน
แต่บราวน์เองก็ไม่สามารถตอบได้ว่าอะไรคือสาเหตุ
แต่เป็นอัลเบิร์ต ไอสไตน์ ผู้ตระหนักว่าการเคลื่อนไหว จะต้องเกิดจากการที่โมเลกุลขนาดเล็กที่มองไม่เห็นของน้ำชนเข้ากับละอองเกสร
ปัจจุบันเราเรียกมันว่า ทฤษฎีจลน์ของสสาร
ทฤษฎีจลน์ของสสาร: อนุภาคเคลื่อนที่ตลอดเวลา อนุภาคดึงดูดซึ่งกันและกัน
ทุกสิ่งประกอบขึ้นมาจากอนุภาคเล็กๆ ซึ่งเราสามารถจินตนาการเป็นลูกบอลลูกเล็กๆ
อนุภาคเหล่านี้มีการเคลื่อนไหวอย่างคงที่ต่อเนื่อง
และมีแรงดึงดูดระหว่างกัน
ระดับของแรงดึงดูดนี้เองที่เป็นตัวกำหนดว่าสสารจะอยู่ในสถานะใด ของแข็ง ของเหลว หรือ ก๊าซ
ของแข็ง
ในของแข็ง อนุภาคถูกอัดกันแน่นและอยู่รวมกันในรูปแบบที่มีแบบแผนชัดเจน
อนุภาคจะสั่นรอบๆ จุดที่อยู่นิ่ง ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ
แรงดึงดูดระหว่างอนุภาคจะสูงมาก
นั่นหมายความว่าของแข็งไม่สามารถไหลได้ พวกมันจะคงรูปร่างและมีปริมาตรคงที่
ของเหลว
อนุภาคในของเหลวก็ยังคงอยู่ใกล้กัน แต่มันสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระมากกว่า ดังนั้นของเหลวจึงไม่มีรูปร่างที่ตายตัว
และมันสามารถไหลได้ เพราะว่าอนุภาคของมันสามารถลื่นไหลผ่านกันได้
แรงดึงดูดระหว่างอนุภาคของเหลวอ่อนกว่าในของแข็ง ...
Please log in to view and download the complete transcript.