แนวคิดในเรื่องเซตของตัวเลขที่ไม่รู้จบได้ทำให้นักคณิตศาสตร์ลุ่มหลงหลายยุคหลายสมัย
ชากกรีกยุคแรกรู้สึกพิศวงกับเรื่องนี้ และเรียกว่า อนันต์หรือไม่รู้จบ
สำหรับชายคนหนึ่งจะเดินออกจากห้อง เขาต้องเดินไปครึ่งหนึ่งของระยะทางทั้งหมด
จากนั้นอีกครึ่งของระยะทางที่เหลือ
แล้วก็อีกครึ่งหนึ่งของระยะทางที่เหลือ
ด้วยวิธีการคิดแบบนี้ เขาจะไม่สามารถออกไปจากห้องนี้ได้!
แต่ในชีวิตจริง เขาออกไปจากห้องได้แน่นอน ในกรณีนี้ การแบ่งออกเป็นจุดที่เล็กลงและเล็กลงอย่างไม่รู้จบเป็นสิ่งที่น่าสับสนสำหรับพวกเขา
แคลคูลัส
อีกหลายปีต่อมา ในคริสต์ศตวรรษที่สิบเจ็ด นักคณิตศาสตร์ชาวยุโรปได้ใช้ความรู้เรื่อง ไม่รู้จบ เพื่อพัฒนาแคลคูลัส
เรขาคณิต คือ การศึกษาเกี่ยวกับรูปร่าง แคลคูลัสก็คือ สาขาของคณิตศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับอัตราการเปลี่ยน
ในไม่ช้าก็เป็นที่ประจักษ์ว่า การไม่รู้จบมีสองประเภท
และความแตกต่างระหว่างสองประเภทนี้สำคัญยิ่ง
การไม่รู้จบแบบนับได้
พวกเขาได้เริ่มต้นโดยการศึกษาแนวคิดของจำนวนรู้จบ
เราจะพูดว่ามีแมวอยู่สามตัว ถ้าเรานับแมวเหล่านี้แบบหนึ่งต่อหนึ่งกับตัวเลขหนึ่ง สอง สาม
เราจะพูดว่ามีกระต่ายอยู่หกตัว ถ้าหากเรานับกระต่ายเหล่านี้แบบหนึ่งต่อหนึ่งกับตัวเลขหนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า และหก
หากขยายหลักการนี้ออกไปอีก เราเรียก เซตไม่รู้จบแบบนับได้ ถ้าเราจับโยงสมาชิกในเซตกับความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่งกับตัวเลข หนึ่ง สอง สาม สี่ และอื่นๆ ต่อไป
ดังนั้น มีจำนวนเลขคู่ทั้งหมดเป็นแบบไม่รู้จบที่นับได้
และมีจำนวนเลขคี่ทั้งหมดเป็นแบบไม่รู้จบที่นับได้
การไม่รู้จบที่นับได้นี้เรียกว่า ‘อะเลฟศูนย์’
การไม่รู้จบแบบนับได้ = อะเลฟ 0
เรื่องน่าประหลาดใจที่สุดคือ มีเซตไม่รู้จบที่นับไม่ได้
การไม่รู้จบแบบนับไม่ได้
ลองดูรายการจำนวนเลขทศนิยมระหว่างศูนย์กับหนึ่งที่มีจำนวนมากเป็นอินฟินิตี้
เราย่อมสามารถสร้างตัวเลขอื่นอีกตัวที่ไม่อยู่ในรายการนี้ได้
เลือกตัวเลขแรกให้ต่างจากตัวเลขแรกของจำนวนทศนิยมแรกในรายการ
เลือกตัวเลขที่สองให้ต่างจากตัวเลขที่สองของจำนวนทศนิยมที่สองในรายการ
และต่อไปเรื่อยๆ
และในเมื่อคุณสร้างจำนวนใหม่ที่ไม่อยู่ในรายการไม่รู้จบ เซตนี้ถือว่านับไม่ได้
การไม่รู้จบแบบนับไม่ได้มีชื่อว่า “อะเลฟหนึ่ง”
การไม่รู้จบแบบนับไม่ได้ = อะเลฟ 1
อะเลฟหนึ่ง เป็นจำนวนที่สร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งตามสมมติฐานความต่อเนื่องแล้ว คือจำนวนของจุดในจักรวาล!
หรือจำนวนของชั่วขณะหนึ่งในเวลาทั้งหมด!